ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน, คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1 จำนวน 80 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย 1)ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้รักษาราชการแทน จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ตามแนวคิดของชาร์เนนเจอร์(Sheninger) กับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การมีส่วนร่วมการเรียนรู้และผลลัพธ์ของผู้เรียน การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์พื้นที่การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เป็นนวัตกรรมใหม่ การเรียนรู้และการเติบโตอย่างมืออาชีพ การสร้างโอกาสและการสร้างภาพลักษณ์ ตามลำดับ
2) คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการบริหารและการจัดการและคุณภาพของผู้เรียน ตามลำดับ
3) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (2564-2565). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2563.
เกรียงไกร สมรูป. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 7(2): 70.
จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกั,.
จิรพล สังข์โพธิ์. (2560). ภาวะผู้นำดิจิทัลในการบริหาร: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2564.
ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภัสรัญช์ สุขเสนา. (2565). ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 14(3): 178.
นัยน์ปพร แก้วจีราสิน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1): 610.
พงศ์สิริ เกื้อวราห์กุล. (2562). สมรรถนะผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(1): 87.
พัชรมัย อินอ่อน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษาโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปทุมธานี. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 3(3): 300.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
วรวรรณ อินทร์ชู. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6): 300.
วุฒิชัย เนียมเทศ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ในช่วงภาวะวิกฤติ Covid-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(9): 258.
สมาน ประวันโต. (2566). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(10): 137.
สมาน อัศวภูมิ. (2558). เอกสารคำสอน รายวิชาการบริหารสำหรับครู (ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี: หจก. อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(35): 36.
อุทุมพร จามรมาน. การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/User/Desktop/pecera-enhance-paper2.pdf.
เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ. 2(22): 886.
Best, John W. (2006). Research in Education. (10th ed). New Jersey: Prentice –Hall, Inc.
Eric Sheninger. (2019). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. (2nd ed). United States of America: Arnis Burvikovs.
Lunenburg, Fred C., and Allan C. Ornstein. (2020). Educational Administration: Concepts and Practices. (7th ed). California: SAGE Publications Ltd.
Mohammed Abaalkhail. (2013). The Educational Quality Model: Saudi and British Perspectives on Pillars of Quality in Education. Doctoral Dissertation, Brunel University.
Mohd Izham and Mohd Hamzah. (2014). Technology Leadership and Its Relationship with School-Malaysia Standard of Education Quality. International Education Studies. 7(13).
Krejcie, Robert V., and Daryle w. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Educational and Psychological Measurement, 3: 608.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว