กลไกการเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
กลไก, การเสริมสร้าง, สุขภาวะพระสงฆ์, การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษากิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ 2) พัฒนาคู่มือเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ 3) สร้างเครือข่ายสุขภาวะพระสงฆ์ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการร่วมกิจกรรมกับชุมชน ทำการสังเกตและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มเฉพาะ โดยกำหนดใช้รูปแบบการวิจัยที่หลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัยวัดในจังหวัดนครปฐม จำนวน 7 วัด อำเภอละ 1 วัด จำนวน 14 รูป และการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดนครปฐม โดยการให้ความรู้ในเรื่องอาหาร ฉันอาหารประเภทที่ไม่มัน ไม่ทอด ไม่หวาน ไม่เค็ม ฉันอาหารประเภทผัก ปลา อาหารที่ ต้ม นึ่ง ควบคู่กับการออกกำลังกาย 2) พัฒนาคู่มือเสริมสร้างสุขภาวะพระสงฆ์เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดนครปฐม การพัฒนาคู่มือที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับพระสงฆ์ โดยการบริหารกายให้เหมาะสมกับพระสงฆ์การบริหารแบบโยคะ การออกกำลังกายพื้นฐานของพระสงฆ์โดยการบิณฑบาต เดินจงกรม กวาดลานวัด รดน้ำต้นไม้ 3) สร้างเครือข่ายสุขภาวะพระสงฆ์ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดนครปฐม 1) เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หน้าที่ให้บริการแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานและสนับสนุนการดูและสุขภาวะพระสงฆ์ในพื้นที่ 2) เครือข่าย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผน และประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุข 3) เครือข่ายภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในการต่อพระสงฆ์ การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางกายทุกครั้งเพื่อให้พระสงฆ์ทุกรูป มีความรู้ด้านสุขภาพและตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลตนเองทั้งเรื่องอาหารการรักษาสุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย สภาพแวดล้อมและการพักผ่อนอย่างเหมาะสมการฝึกฝนพัฒนาจิต และปัญญาเพื่อให้มีความพร้อมต่อการทำหน้าที่ผู้สืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่
References
ธิติวุฒิ หู, กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs ที่เกิดจากพฤติกรรม ป้องกันได้. https://www.phyathai.com/article_detail/3697/th
ฐาปะณี คงรุ่งเรือง.(2565) รายงานการวิจัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย, สำนักส่งเสริมสุขภาพอานามัย.
ประเวศ วะสี, (2541). บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพอภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. กรงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, (2556), พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรส จำกัด
วิภาวดี สีตนไชย และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). รายงานการ. วิจัยเรื่องการรับรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตามธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาาคม.
พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร และคณะ.“รูปแบบการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา” บทความวิจัย, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2565.
พระสุธรัตนบัณฑิต และพระมหาสุรไกร ชินพุทธิสิระ (คงบุญวาสน์). (2564). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา.
วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือน กันยายน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว