ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 286 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความยุติธรรม ด้านความไว้วางใจ ด้านการเอาใจใส่ และด้านความซื่อสัตย์ การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความไว้วางใจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาดเล็กมีความคิดเห็นน้อยกว่าข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่
References
ชัชวาล แก้วกระจาย และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 54-67.
ณัฐยา สีหะวงษ์ (2561). ความสัมพันธ์พหุระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 53-62.
ดวงฤดี ศิริพันธุ์. (2561, กรกฎาคม). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา. เอกสารเสนอต่อที่ประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, สงขลา.
ดวงใจ บุญหล้า. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำกับความมีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรพัฒน์ เพชรศรีจันทร. (2562). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในจังหวัดอุทัยธานี. Journal of MCU Nakhondhat, 6(5), 2233-2250.
นพรัตน์ อิสระณรงค์พันธ์. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
นิ่มนภา อ่อนพุทธา. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 47 สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวงกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร, 18(83), 36-44.
ผ่องศรี พรมวิชัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจของครูในการปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 14(2),147-178.
เพ็ญศิริ สมเรือน (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.
รัตนา กาญจนพันธุ์. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 7(3), 18-24.
วันเฉลิม รูปสูง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), 37-50.
สฤษดิ์ แสงรัตน์. (2566). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(1), 23-38.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต เขต 3. กาญจนบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. ค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/law/act_law2551
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำเนียง ยอดคีรี. (2560). จริยศาสตร์, จริยธรรม และคุณธรรม ตามแนวความคิดของนักปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 37-53.
สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 1-15.
สุวิมล โตปิ่นใจ. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางบ่อ 2 อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(2), 117−134.
Best, J. W. (1981). Research in education. (4 th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3): 297-334.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว