กลยุทธ์การสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสร้างขวัญและกำลังใจครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดของการสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 3) พัฒนากลยุทธ์การสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 96 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูในสถานศึกษาละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 518 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- กรอบแนวคิดของการสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน 2) ด้านการให้รางวัลตอบแทนและสวัสดิการ 3) ด้านการสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ 4) ด้านการเป็นต้นแบบที่ดีของผู้บริหาร
- สภาพปัจจุบันของการสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
สภาพที่พึงประสงค์ของการสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
- กลยุทธ์การสร้างขวัญและกำลังใจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เพิ่มการให้รางวัลตอบแทนและสวัสดิการ มี 2 กลยุทธ์รอง และ 12 วิธีดำเนินการ 2) พลิกโฉมการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน มี 3 กลยุทธ์รอง และ 9 วิธีดำเนินการ 3) ส่งเสริมการเป็นต้นแบบที่ดีของผู้บริหาร มี 3 กลยุทธ์รอง และ 10 วิธีดำเนินการ และ 4) ยกระดับการสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ มี 5 กลยุทธ์รอง และ 20 วิธีดำเนินการ
References
กนกวลี สุขปลั่ง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับขวัญและกำลังใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอรงกรณ์.
จันทร์เพ็ญ พึ่งเพ็ง. (2559). ขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จิรายุ เพ็ชรลุ. (2562). พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานตามทัศนะของครูโรงเรียนเอกชนใน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC MANAGEMENT). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.
ณัฐพงษ์ ภูชมศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นินทร์ลดาว ปานยืน. (2560). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเทศบาลสังกัดเทศบาลนครยะลา. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ประกิจ ชอบรู้. (2562). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ.
ประคัลภ์ ปัณฑพลังกรู. (2560). สาเหตุที่ทำให้พนักงานไม่อยากลาออกจากองค์กร. ค้นเมื่อกรกฎาคม 19, 2565, จาก https://prakal.com/.
พเยาว์ หมอเล็ก. (2560). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอําเภอเมือง จังหวัดยะลา. ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์. (2564). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรีตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพา เวียงกมล อัดโดดดร. (2554). กลยุทธการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสงเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผูนําทางการศึกษา คณะครุศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รุ่งทิวา วิบูลย์พันธ์. (2562). ศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สายสุนีย์ ตรีเหลา. (2561). การสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barbuto. (2001). 77 Ways To Motivate Your Workers. Retrieved July 7, 2022, from https://extensionpublications.unl.edu/.
David. (2015). Experiential Learning Theory:A Dynamic, Holistic Approachto Management Learning, Education and Development.
Retrieved October 25, 2022, from https:// www.researchgate.net/publication/.
Edmonds. (2009). Improving Teacher Morale with Team Building. Retrieved February 12, 2023 from https://www.semanticscholar.org/.
Heatfield. (2021). 9 Ways to Inspire Motivation in the Workplace. Retrieved October 11, 2022, from https://www.liveabout.com/.
Herman. (2022). 20 Easy Ways to Motivate Employees. Retrieved October 11, 2022, from https://www.lumapps.com/.
Kaye, & Jordan. (2014). Love Em or Lose Em. Berrett-Koehler Publishers, Inc.
humalo, N. (2022). Factors That Affect the Morale of Employees in the Institution of Higher Learning in South Africa. International Journal of Higher Education. Vol. 11, No. 3; 2022, 58-66. Retrieved July 10, 2023, fromhttps://eric.ed.gov/?id=EJ1369140.
Lalzary. (2022). 15 Effective Ways to Boost Employee Morale. Retrieved Retrieved February 10, 2023, from https://bnsme.org/blog/id/28.
Llopis. (2012). The Top 9 Things That Ultimately Motivate Employees to Achieve. Retrieved October 11, 2022, from https://scholar.google.com/.
O'Reilly, & Busby. (2020). How to Boost Teacher Morale. Retrievedn February 12, 2023, from https://portal.ct.gov//media/SDE/Turnaround/Professional/.
Waters. (2021). The 7 surefire ways to boost employee morale. Retrieved February 12, 2023, from https://www.betterup.com/blog/boost-employee Morale.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว