การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือ, การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development ) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสร้างเครือข่าย และองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 (3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และ (4) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษากระบวนการสร้างเครือข่าย และองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือใน
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างเครือข่าย 2) ประสานหน่วยงาน/องค์กรเครือข่าย 3) สร้างพันธสัญญาร่วมกัน 4) บริหารจัดการเครือข่าย และ 5) พัฒนาความสัมพันธ์ และองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ลักษณะหรือกิจกรรมสำคัญที่เสริมประสิทธิภาพ
การดำเนินภารกิจของเครือข่าย 2) ขอบข่ายและภารกิจการบริหารจัดการสถานศึกษา 3) เทคนิค/วิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่าย 4)กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของเครือข่าย 5)คุณลักษณะที่ดีของผู้นำเครือข่าย และ 6) การปฏิบัติงานของเครือข่ายและการสะท้อนผล - สร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) แนวการประเมินรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขการนํารูปแบบไปใช้ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทที่ 1 บทนำ 2) บทที่ 2 รูปแบบ 3) บทที่ 3 การนำการพัฒนารูปแบบ สู่การปฏิบัติ 4) บทที่ 4 การกำกับ ติดตาม และประเมินผล และ 5) รายการอ้างอิง และผลการตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความเป็นไปได้ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสอบคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความเป็นไปได้ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความถูกต้อง พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยครูโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง ผลการศึกษากระบวนการของเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสามารถด้านคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 33.97 และด้านภาษาไทยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 29.51 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 เพิ่มขึ้น 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลดลงร้อยละ 19.14 และผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2565 ดีเยี่ยมรวมเฉลี่ยร้อยละ 21.73
ปีการศึกษา 2566 ดีเยี่ยมรวมเฉลี่ยร้อยละ 18.05 ปีการศึกษา 2565 ดี รวมเฉลี่ยร้อยละ 59.42
ปีการศึกษา 2566 ดี รวมเฉลี่ยร้อยละ 62.50 และปีการศึกษา 2565 ผ่านรวมเฉลี่ยร้อยละ 18.84
ปีการศึกษา 2566 ผ่านรวมเฉลี่ยร้อยละ 19.44 - ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ความเหมาะสม พบว่าในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ พบว่าในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ความเหมาะสม พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และผลการขยายผลการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ไปใช้กับโรงเรียนบ้านป่าก๊อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
References
คนอง ศรีสรณ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัด การศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ชัชวาลย์ สิงหาทอง. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของ สถานศึกษาด้านวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2563). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4.
ทนันเดช ยงค์กมล. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญเพิ่ม สอนภักดี. (2559). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4), 99-113.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
ภัทรวรรธน์ นิลแก้วบวรวิชญ์. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธนา คงแหลม. (2559). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย พะเยา.
รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: การวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 247–268.
โรงเรียนบ้านโป่งฮึ้ง.(2565).แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2565. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1.
วลินดา รสชา. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์. (2557). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารบริหาร การศึกษาบัวบัณฑิต, 14 : 12-24.
สุรเดช รอดจินดาและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคเหนือตอนบน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(1), 1020-1042.
อนันต์ มีพจนา. (2563).การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3.
Agranoff, Robert. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers. Public Administrative Review. 66(6), 56-65.
Eisner, E (1976). “Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation,” Journal of Aesthetic Education. P.192-193.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว