การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหนองรี อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
Life and career skills, flipped classroom learningบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ในการส่งเสริม การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหนองรี อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดหนองรี อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดหนองรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 2) แบบทดสอบวัดทักษะชีวิตและอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดจุดประสงค์การเรียน การวางแผนลำดับเนื้อหาการเรียนรู้ สื่อการสอนหรือแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน กิจกรรมในห้องเรียนร่วมกันและการวัดประเมินผล 2) ผลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพหลังการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตรลดา อ้นวงษา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง แม่กลองบ้านเราโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2562). การวิจัยชั้นเรียน: กระบวนการสร้างความรู้เพื่อใช้พัฒนาการเรียนการสอน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉัฐระพี โพธิ์ปิติกุล. (2562). รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปิยะพงษ์ ธรรมรักษ์. (2563). การพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิ่ง. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน คณะสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พาขวัญ ศรีธรรมชาติ. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พงศธร จันเจียวใช้. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทางรายวิชา ส31102 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2557). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวการจัดกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2566-2570). กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.
สํานักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สนผ.สพฐ.). (2567). ข้อมูลจำนวนนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนวัดหนองรี [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2567, จาก: https://data.boppobec. info/emis/schooldata-view.php?School_ID=1026170079.
อังคณา ตุงคะสมิต. (2559). สังคมศึกษาในโลกอาเซียน Social studies in ASEAN community: ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว