สภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
สภาพ, ปัญหา, แนวทางการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3 จำนวน 86 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียนและรายงาน รองลงมาคือด้านการนําเงินส่งคลัง ด้านการจัดทำบัญชีการเงิน ด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ด้านการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน ด้านการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน และด้านการเบิกเงินจากคลัง ตามลำดับ
- ปัญหาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการนําเงินส่งคลัง รองลงมา คือ ด้านการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ด้านการจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียนและรายงาน ด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน ด้านการจัดทำบัญชีการเงิน ด้านการเบิกเงินจากคลัง และด้านการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน ตามลำดับ
- แนวทางการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ดังนี้ 1) ด้านการจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน ต้องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนการใช้จ่ายเงินที่สอดคล้องกับแผนงบประมาณโครงการ 2) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ควรมีการวางระบบหรือกำหนดแนวปฏิบัติการใช้ทรัพยากรที่ชัดเจน เพื่อความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด 3) ด้านการเบิกเงินจากคลัง ดำเนินการเบิกจ่ายเงินโดยจัดทำและตรวจสอบเอกสารหลักฐานขอเบิกให้ถูกต้องตามระเบียบ 4) ด้านการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน ต้องมีการแต่งตั้งบุคลากรในการรับเงิน เก็บรักษาเงินและจ่ายเงิน โดยจะยึดถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังที่กำหนด 5) ด้านการนําเงินส่งคลังการนำเงินส่งคลังให้นำส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด 6) ด้านการจัดทำบัญชีการเงิน การจัดทำบัญชีการเงินโรงเรียนต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน ให้ถูกต้องตามระเบียบ ครอบคลุม มีความชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ 7) ด้านการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด 8) ด้านการจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียนและรายงาน โรงเรียนได้มีการจัดทำแบบพิมพ์บัญชีทางการเงิน ทะเบียนคุมเงินงบประมาณทุกประเภท และแบบรายงานตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
References
กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดรัณภพ เย็นวัฒนา. (2562). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นงลักษณ์ พรหมพา (2558). การบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยาเขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). โรงเรียนขนาดเล็ก ภาระหรือโอกาส และรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. ค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/71918/-teaar tedu-teaart.
ภัสราวดี เกตุนะ. (2560). การศึกษาสภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
รักษณาลี สุริหาร. (2563). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สิริพร โยศรีธา. (2564). แนวทางการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาอำเภอลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อาซียะห์ วานิ. (2556). ปัญหาการบริหารงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Best, J. W. (1981). Research in education (4^th ed.). Englewood Cliff: Prentice Hall.
Chen, H. and Smith, S.H. (2019). School board directors’ information needs and financial reporting’s role. Retrieved from https://doi.org/10.1108/JPBAFM-09-2018-0097.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining semple seize for research activities. Educational and Psycholoycal Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว