Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
Where available, URLs for the references have been provided.
The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
ข้อกำหนดผลงานวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสารภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีศึกษา
สามารถโหลดข้อมูลไฟล์ฉบับเต็มได้ตามลิงค์ที่แนบมานี้ https://shorturl.asia/aqGSh
1. การเตรียมต้นฉบับบทความ
บทความที่จะเสนอตีพิมพ์ในวารสารภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีศึกษาต้องเป็นบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการที่ไม่ใช่งานวิจัย (non-research academic article) บทความปริทรรศน์ (review article) หรือบทวิจารณ์หนังสือ (book review) ซึ่งเขียนเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเกาหลี เนื้อหาของบทความต้องเกี่ยวข้องกับภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกาหลี
บทความต้องเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาเกาหลี หากผู้เขียนบทความไม่ใช่เจ้าของภาษาบทความต้องได้รับการตรวจทานและแก้ไขภาษาจากผู้อ่านที่เป็นเจ้าของภาษาก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ ความยาวของต้นฉบับไม่ควรเกิน 15 หน้ากระดาษ A4
บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องระบุข้อมูล ชื่อบทความ บทคัดย่อ คำสำคัญอย่างน้อย 3 คำ ชื่อผู้เขียน และหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การอ้างอิงในบทความต้องทำตามระบบ APA อย่างเคร่งครัด
2. การอ้างอิงและการเขียนเอกสารอ้างอิง
กรณีที่ผู้เขียนต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องให้ใช้วิธีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแบบนาม-ปี (author-date in-text citation) โดยระบุ ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ของเอกสารและเลขหน้าของเอกสารที่อ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น หากผู้เขียนผลงานที่อ้างอิงเป็นชาวต่างประเทศให้ระบุเฉพาะนามสกุล เช่น
วิเชียร อินทะสี (2561, น. 45) กล่าวไว้ว่า... หรือ Said (1978, p. 15) มีข้อเสนอทางวิชาการในประเด็นนี้ว่า...
ทั้งนี้ให้มีการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม (reference citation) ในรูปแบบของเอกสารอ้างอิง (References) โดยจัดเรียงรายการเอกสารตามลาดับอักษร และแสดงรายการอ้างอิงภาษาไทยก่อนรายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ และภาษาเกาหลี โดยมีตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง สามารถดาวน์โหลดดูตัวอย่างเพิ่มเติม ได้ที่ https://shorturl.asia/UQb5K
3. ตัวอักษรและรูปแบบการพิมพ์ 3.1 ระยะขอบ การตั้งระยะกระดาษ ให้ตั้ง ดังนี้ หน้ากระดาษขนาด A5 ด้านบน 0.59 นิ้ว ด้านล่าง 0.59 นิ้ว ด้านซ้าย 0.59 นิ้ว ด้านขวา 0.59 นิ้ว
3.2 รูปแบบและขนาดตัวอักษร สามารถดาวน์โหลดดูข้อมูลได้ที่ https://shorturl.asia/2tTj5
3.3 การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง (table)
ข้อความในตารางใช้รูปแบบอักษร Browallia New ขนาด 14 พอยต์ หรือสามารถปรับขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับข้อมูล ใส่เลขลาดับตารางและชื่อตารางไว้ด้านบนตาราง และจัดระยะชิดซ้าย โดยจัดรูปแบบอักษร ดังนี้ เลขลาดับตารางใช้อักษรตัวปกติและชื่อตารางใช้อักษรตัวเอียง (italic)
3.4 การนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ (figure) ได้แก่ กราฟ (graph) แผนผัง/ผังภูมิ (chart) แผนที่ (map) ภาพวาด (drawing) ภาพถ่าย/รูปภาพ (photograph/picture)
ระบุหมายเลขรูปภาพและชื่อรูปภาพไว้ใต้รูปภาพ โดยใช้รูปแบบอักษร Browallia New ขนาด 14 และจัดระยะแบบกลางหน้ารูปภาพหรือกลางรูปภาพ โดยจัดรูปแบบอักษร ดังนี้ เลขลำดับภาพใช้ตัวอักษรตัวเอียง (italic) และชื่อภาพใช้อักษรตัวปกติ
4. การแบ่งหัวข้อในบทความ
ต้นฉบับบทความควรจะแบ่งหัวข้อหลักเป็นสัดส่วนและกำกับหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยด้วยระบบตัวเลข โดยจัดรูปแบบให้เป็นไปตามรูปแบบ ดังนี้
1. หัวข้อลำดับที่ 1
หัวข้อลำดับที่ 1 พิมพ์ด้วยอักษรตัวหนา (bold) ขนาด 16 พอยต์ จัดชิดซ้าย เว้นบรรทัด ด้านบนสองบรรทัดและเว้นบรรทัดด้านล่างหนึ่งบรรทัด
1.1.1 หัวข้อลำดับที่ 1.1.1
หัวข้อลำดับที่ 1.1.1 พิมพ์ด้วยอักษรตัวปกติ ขนาด 14 พอยต์ จัดชิดซ้าย เว้นบรรทัดด้านบนหนึ่งบรรทัด และบรรทัดด้านล่างตามด้วยเนื้อความทันที
5. การส่งต้นฉบับ
ผู้สนใจสามารถส่งบทความได้ที่อีเมล jklc.ku@gmail.com