รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ทิศากร ศิริพันธุ์เมือง

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร 3) นำเสนอรูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร บรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสกลนคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


        ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพและปัญหาการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร มีปัญหามากที่สุดคือ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศเก่า ล้าสมัย และไม่เพียงพ่อต่อการให้บริการ 2)  สภาพและปัญหาการใช้บริการสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร พบว่าผู้ใช้บริการไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดบริการและกิจกรรมของห้องสมุด 3) รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก นำส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7PS) มาใช้เป็นแนวทาง ประกอบด้วย (1) ด้านทรัพยากรสารสนเทศและการบริการ (2) ด้านราคา (3) ด้านอาคารสถานที่ (4) ด้านบุคลากร (5) ด้านการส่งเสริมการบริการ (6) ด้านสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางกายภาพ และ (7) ด้านขั้นตอนการให้บริการ งานวิจัยนี้ได้รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุกที่นำเสนอ ประกอบด้วย (1) ผลิตภัณฑ์ใหม่ (2) ช่องทางการให้บริการ (3) การส่งเสริมการให้บริการ(4) บุคลากร และ (5)  การบริการที่มีคุณค่า นอกจากนั้น ยังพบว่าความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศเชิงรุกคือ การได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถติดต่อสื่อสารกับห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว


        The objectives of this study were 1) to investigate the state and problem in information service management of public libraries in Sakon Nakhon province, 2) to examine the state and problem in using information services of public libraries in Sakon Nakhon province, and 3) to present a proactive information services management model for promoting lifelong learning of public libraries in Sakon Nakhon province. The sample used in data collection comprised administrators, librarians, and users of public library services in Sakon Nakhon province. Data collection was conducted using mixed methods through in-depth interview, questionnaire, and focus group discussion. Descriptive data analysis was conducted using frequency, percentage, mean, and standard deviation.


        The results of this study were as follows: 1) The state and problem in information service management of public libraries in Sakon Nakhon province were found that the most problematic aspect is the collection of information resources was old, obsolete, and inadequate to serve. 2) The state and problem in using information services of public libraries in Sakon Nakhon were found that the service users did not know about services and activities of the libraries. (3) The service marketing mix (7Ps) as guideline for its proactive creation which consists of these aspects 1) product/service, 2) price, 3) place, 4) people, 5) promotion, 6) physical evidence, and 7) process. The proactive information service management model comprised: 1) new information resources and services, 2) places/service channels, 3) services promotion, 4) personnel, and 5) valued services. In additions from user’s satisfaction inquiry, the service users were informed of knowledge easily, conveniently and quickly and could communicate with the library very quickly.

Article Details

Section
Research Article