โรงเรียนผู้สูงอายุ : รูปแบบ และกระบวนการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ธนกร สร้อยศรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา 3) การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบูรณ์


ผลจากการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนานำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ได้รับประโยชน์สุข ตั้งแต่ขั้นต้นในการลงมือปฏิบัติ ได้แก่ หลักไตรลักษณ์ เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพียงเราเข้าไปยึดว่าเป็นความสุข ซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิต โดยมีหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา


การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1. ร่างกาย การดำเนินชีวิตให้พิจารณาถึงคุณค่าแท้ 2. ด้านสังคม โดยผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีจิตอาสา เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำให้ตนเองรู้สึกมีคุณค่า มีความเป็นกัลยาณมิตรชุมชนไม่ทอดทิ้ง 3. ด้านจิตใจ ยิ้มบ่อย ๆ ไม่ต้องเครียด ปล่อยวาง ผู้ดูแลใช้หลักการบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ มีเมตตาเป็นกัลยาณมิตร  4. ด้านปัญญาผู้สูงอายุมีความเข้าใจถึงธรรมชาติของชีวิต เข้าใจสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามหลักไตรลักษณ์ กำจัดกิเลสที่เป็นรากเหง้าของทุกข์ได้ เกิดปีติ แจ่มใสสงบ


       การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้สูงอายุมีความพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าหน้าที่ให้บริการสวัสดิการสังคมเบี้ยยังชีพ และการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สวัสดิการการตรวจสุขภาพและการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
สร้อยศรี ธ. (2020). โรงเรียนผู้สูงอายุ : รูปแบบ และกระบวนการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์. JOURNAL OF RATTANA PAÑÑĀ, 5(2), 184–194. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BLJOU/article/view/244076
Section
Research Article

References

กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานการสำรวจ สุขภาวะผู้สูงอายุ
ไทย (2556). ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี..
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2550). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร
:โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, โลกของผู้สูงอายุไทย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน
2561). http:// thaihealth.or,th/ node/9024.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้าง เครือข่าย
องค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. (สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
วันชัย นารีรักษ์, นายกเทศมนตรีเมืองวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว, โรงเรียนผู้สูงอายุ ชีวิตใหม่ของคน ในชนบท, (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561). http://www.thaihealth.or.th/
ขยัน วิพรหมชัย, นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, โรงเรียนผู้สูงอายุ ชีวิตใหม่ของคนในชนบท,
(ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561). http://www.thaihealth.or.th
วิศาล วิมลศิลป์, อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย,
โรงเรียนผู้สูงอายุ ชีวิตใหม่ของคนในชนบท, (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561).
http://www.thaihealth.or.th