การพัฒนาการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ ภาคตะวันตกของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจัดสวัสดิการ, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก 2) วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกและ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากร และผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก จำนวน 654 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน และด้านความมั่งคงของสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล อยู่ในระดับสูงมาก ส่วนด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านรายได้ และด้านที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับสูง 2) มี 4 องค์ประกอบ และ14 ประเด็นสำคัญ ในการดำเนินงานตามมาตรฐานการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 67.65 และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุที่มีประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคตะวันตก ประกอบด้วย (1) การพัฒนาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ (2) การสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างรายได้ผู้สูงอายุ (3) ส่งเสริมความรู้การเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุ (4) จัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุ (5) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและภูมิสถาปัตย์สำหรับผู้สูงอายุ และ (6) จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุไร้ที่พึ่ง
References
กฤษณ์ ภูรีพงศ์, สุพจน์ อินหว่าง, และ กัญญามน อินหว่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(2), 1-17.
กรมอนามัย. (2557). กรมอนามัย ชูเทศบาลนครนนท์-พัทยา นำร่องเมืองที่เป็นมิตรกับคนสูงวัย”. สืบค้น 12 มีนาคม 2560. จาก http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=6438.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2552). มาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2552). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2551.
กรุงเทพมหานคร: ทีคิวพี.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. (2553). รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
เลอลักษณ์ โอทกานนท์, แสงดาว วัฒนาสกุลเกียรติ, ศศิธร จันทมฤก, และดนุชา สลีวงศ์. (2562). การวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สำหรับผู้นำชุมชน และผู้ปกครองในจังหวัดสระแก้ว: กรณีศึกษาตำบลตาพระยา. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36(99), 129-142.
มัทยา ศรีพนา. (2557). การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.
วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2555). กฎหมายสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Krejcie R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement. (3), 607-610.
United Nations (UN). (2007). World population ageing 2007. New York: United Nations.
Knodel and Chayovan. (2008). Population Ageing and the Well-being of Older Persons in Thailand. PSC Research Report No. 08-659. 10 2008.