การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 4-6 ในเขตจอมทอง
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนการสอน, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (2) ด้านความคิดเห็นต่อกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและ (3) ด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อนการจัดกิจกรรมกับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจอมทอง ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบทดสอบเรื่องโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test Dependent ผลการวิจัยมีดังนี้
- 1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในเขตจอมทอง 3 ด้าน คือ (1.1) ด้านความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีคะแนนสอบก่อนเรียนเท่ากับ 15.69 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 52.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.59 คะแนนสอบหลังเรียนเท่ากับ 20.19 คิดเป็นร้อยละ 67.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.56 (1.2) ด้านความคิดเห็นต่อกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 51.95 คะแนน จากคะแนนเต็ม 57 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 (1.3) ด้านการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมโรค กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 59.96 คะแนน จากคะแนนเต็ม 75 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียน และคะแนนสอบหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรมควบคุมโรค. (2554). แผนยุทธศาสตร์โรคติดต่อนำโดยแมลงระดับชาติปี 2555-2559. นนทบุรี : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ธนัชชา นทีมหาคุณ. (2556). ผลของโปรกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญลักษณ์ มณีโชติ, นริสรา หร่ายพิมาย, และ สิรินาฏ มูลเมือง. (2559). การประเมินโครงการ
พัฒนาศักยภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดของเคิร์กแพทริค. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 33(93), 20-23.
เบญจนาฏ ใจบุญ, สุเมษย์ หนกหลัง, และ นฤมล พระใหญ่. (2561). ความพอเพียงแห่งตนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดศาลาเขื่อน (อุภัยเพชร) จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 35(97), 33-44.
ศิริชัย วุฒิไกรอุดมเดช. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการและส่งเสริมภาวะโภชนาการตามหลัก 2 อ.ของนักเรียนชั้นม.1โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 34(95), 59-74.
สำนักงานเขตจอมทอง. (2561). โครงการอบรมฟื้นฟูศักยภาพทีม SRRT พื้นที่จอมทอง กรณีออกสอบสวนโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดซิก้ารายปกติและกรณีตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข [เอกสารการประชุม].กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตจอมทอง.
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (ปรับปรุง 2553). สืบค้น 6 เมษายน พ.ศ. 2560. จาก https://drive.google.com/file/d/0B8Zl4Xfj QfmFaEdxUDk2 OUl3SWc/view? Pref =2&pli=1.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์:แนวทางสู่การปฏิบัติ .พิมพ์ครั้งที่ 12 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.