การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การอ่านจับใจความของนักเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • กมลพร สิบหมู่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิวะพร ภู่พันธ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์อภิมาน, เทคนิค SQ4R, การอ่านจับใจความ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R ในการอ่านจับใจความ (2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการแจกแจงขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R ในการอ่านจับใจความ และ (3) เพื่อวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R ในการอ่านจับใจความ โดยจำแนกตามคุณภาพงานวิจัย และระดับชั้นของตัวอย่างการวิจัย งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้ คือ วิทยานิพนธ์ทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค SQ4R ในการอ่านจับใจความ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2560 จำนวน 12 เล่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. 1. ผลการวิเคราะห์อภิมาน คุณลักษณะของงานวิจัยที่เป็นตัวแปรจัดประเภท คือ (1) ด้านคุณลักษณะข้อมูลทั่วไปของงานวิจัย พบว่า ปีที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยมากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2556 (33.30%) ซึ่งเป็นสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมากที่สุด (66.70%) มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (25.00%) และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (25.00%) งานวิจัยทั้งหมดเป็นงานวิจัยระดับมหาบัณฑิต (100.00%) (2) คุณลักษณะของงานวิจัยด้านเนื้อหาสาระ พบว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยมากที่สุด คือ เพื่อสร้างและศึกษาคุณภาพนวัตกรรม (91.70%) แบบแผนการทดลองมากที่สุด คือ แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (75.00%) สมมติฐานการวิจัยมากที่สุด คือ แบบมีทิศทาง (83.30%) ระดับช่วงชั้นของตัวอย่างการวิจัยมากที่สุด คือ ช่วงชั้นที่ 2 (50.00%) เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมากที่สุด คือ แบบสอบ/แบบวัด (83.30% และ 91.70% ตามลำดับ) (3) คุณลักษณะของงานวิจัยด้านวิธีการวิจัย พบว่า มีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การอ่านจับใจความ ก่อนเรียน (pretest) และหลังเรียน (posttest) มากที่สุด (91.70%) มีการดำเนินการสุ่ม โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างจากประชากรมากที่สุด (58.30%) ผลการทดสอบสมมติฐาน แตกต่างกันที่ระดับ 0.01 มากที่สุด (66.7%) และ (4) คุณลักษณะของงานวิจัยด้านคุณภาพของงานวิจัย พบว่า งานวิจัยมีคุณภาพของงานวิจัยดีมาก มากที่สุด (58.30%)
  2. 2. ผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยในภาพรวม พบว่า งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับดี (M = 3.15)

3. ค่าขนาดอิทธิพลของงานวิจัยในการทดสอบสมมติฐาน มี 12 ค่า ซึ่งผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล จำแนกตามตัวแปรคุณภาพงานวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของงานวิจัย ทั้ง 2 กลุ่ม (คุณภาพของงานวิจัยในระดับดีมาก และคุณภาพของงานวิจัยในระดับดี) มีค่าขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน (t = 4.04, p = .72) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพล จำแนกตามตัว ระดับชั้นของตัวอย่างการวิจัย พบว่า งานวิจัยที่ทำการศึกษากับตัวอย่างการวิจัย ทั้ง 4 ช่วงชั้น มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน (F = 0.42, p = .75)

Author Biographies

กมลพร สิบหมู่, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

นักศึกษาปริญญาโท สาขาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศิวะพร ภู่พันธ์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ดร. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กมลทิพย์ ศรีหาเศษ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อาจารย์ ดร. ภาควิชาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

ไกรษร ประดับเพชร. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไตรคามประชาสรรค์. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2562. จาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25611231_105007_4812.pdf.

ธิดา บู่สามสาย. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 191-204.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (meta – analysis). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta – analysis). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธุ์ทิพา หลาบบุญเลิศ. (2535). ภาษาไทย 3. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

พิรุนเทพ เพชรบุรี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิรดี วัชรสินธุ์. (2544). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยเฉพาะรายของผลการพัฒนาพฤติกรรมของเด็ก: การวิเคราะห์เปรียบเทียบการประมาณค่าขนาดอิทธิพล 3 วิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

รัศนา จั่นสกุล. (2547). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น: การวิเคราะห์อภิมาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

วรรณี อริยะสินสมบูรณ์. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยในสาขาจิตวิทยาการศึกษา: การวิเคราะห์อภิมาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.

Djudin, T. & Amir, R. (2018). Integrating SQ4R technique with graphic postorganizers in the science learning of earth and space. Jurnal Pendidikan IPA Indonesia, 1, 76 – 84.

Khusniyah, N. L., Rasyid, Y., & Lustyantie, N. (2017). Improving English Reading Comprehension Ability through Survey, Questions, Read, Record, Recite, Review Strategy (SQ4R). English Language Teaching, 10(12), 202–211.

Wong, L. (2009). Essential study skills (6th ed.). Boston: Houghton Mifflin Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16