การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน และ โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนแบบทั่วไป

ผู้แต่ง

  • นรินทร บุญธรรมพาณิชย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โชติกา ภาษีผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบสอบรูปแบบผสม, โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน, โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนแบบทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน 2) เปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนในแบบสอบแตกต่างกัน โดยวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เมื่อพิจารณาในภาพรวมของแบบสอบทั้ง 15 ฉบับ และเมื่อจำแนกตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ โดยแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแต่ละสาระการเรียนรู้มีสัดส่วนของการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน 3 สัดส่วน คือ 60:40, 70:30 และ 80:20 ใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบ 1pl และ 2pl ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          1) แบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์รูปแบบผสมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า ด้านความเที่ยงของแบบสอบส่วนใหญ่มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป และทุกฉบับเหมาะกับผู้สอบหรือนักเรียนที่มีความสามารถปานกลาง

          2) ในภาพรวมของแบบสอบทั้ง 15 ฉบับ พบว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสัดส่วนการตรวจให้คะแนนและโมเดลการวิเคราะห์ ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อศึกษาอิทธิพลหลักพบว่าสัดส่วนของการตรวจให้คะแนน มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเปรียบเทียบรายคู่พบว่าค่าเฉลี่ย SE ระหว่างสัดส่วน 60:40 ต่ำกว่า 80:20 และ 70:30 ต่ำกว่า 80:20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนโมเดลการวิเคราะห์ มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของโมเดล 2pl ต่ำกว่าของโมเดล 1pl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3) เมื่อจำแนกตามสาระการเรียนรู้ พบว่ามีเพียงสาระการวัด เท่านั้นที่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสัดส่วนการตรวจให้คะแนนและโมเดลการวิเคราะห์ ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่าค่าเฉลี่ย SE ของ 60:40(1pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 60:40(2pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 70:30(1pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl), 70:30(2pl) ต่ำกว่า 80:20(1pl) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อศึกษาอิทธิพลหลักพบว่ามีเพียงสาระจำนวนและการดำเนินการที่สัดส่วนของการตรวจให้คะแนน มีผลต่อค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเปรียบเทียบรายคู่พบว่าค่าเฉลี่ย ระหว่างสัดส่วน 60:40 ต่ำกว่า 70:30, 60:40 ต่ำกว่า 80:20 และ70:30 ต่ำกว่า 80:20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่าสาระการเรียนรู้เรขาคณิตและสาระพีชคณิตมีค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) ที่ใช้โมเดล 2pl ต่ำกว่า ที่ใช้โมเดล 1pl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Author Biographies

นรินทร บุญธรรมพาณิชย์, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โชติกา ภาษีผล, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

เกวลิน ชัยนรงค์. (2554). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์.

ไข่มุก เลื่องสุนทร. (2552). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์.

ณัฐไฉไล พริ้งมาดี. (2544). การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เรื่องเส้นขนานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาคณิตศาสตร์.

สุวิมล เสวกสุริยวงศ์. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

รุ่งนภา แสนอำนวยผล. (2555). ประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูปแบบผสม : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน และทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนแบบทั่วไป. Journal of Education KhonKaen University, 35(1) : 58-66

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ศรีกลชาญ. (2552). คุณภาพของการปรับเทียบคะแนนสำหรับแบบสอบรูปแบบผสม:การประยุกต์ใช้การปรับเทียบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยวิธีโค้งคุณลักษณะและการปรับค่าพารามิเตอร์พร้อมกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2557). การกำหนดค่าให้คะแนน .วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 31(89) : 17-26

นิคม บุญหลาย. (2562). การตรวจให้คะแนนแบบทดสอบอัตนัยให้มีความตรงและความเที่ยง: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดและโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช. วารสารการวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 36(99) : 154-169.

Ou Lydia Liu , Hee-Sun Lee & Marcia C. Linn.(2011). An Investigation of Explanation Multiple-Choice Items in Science Assessment. Journal of educational assessment, 16:164–184.

Kinsey, T.L. (2003). Comparison of IRT and Rasch Procedures in A Mixed- Item Format Test. Dissertation Prepared for the Degree of Doctor of Philosophy University of North Texas.

Michael J. Kolen , Won-Chan Lee. (2011). Psychometric Propreties of Raw and Scale Scores on Mixed-Format Tests. Educational Measurement, 30(2):15-24

R. Saen-amnuaiphon. (2012). The Effect of Proportion of Mixed-Format Scoring: Mixed-Format Achievement Tests. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 69:1522-1528

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16