รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • รักษ์พล สุระขันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศศิธร ปรีชาวุฒิเดช คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรังแก, การถูกรังแก, รูปแบบการเผชิญปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาร้อยละของกลุ่มประสบการณ์รังแกและการใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกของกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 376 คน โดยใช้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, The revised Olweus bully/victim questionnaire และ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (Adolescent Coping Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มทั้งผู้รังแกและถูกรังแกร้อยละ 39.89,กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องร้อยละ 30.59, กลุ่มผู้ถูกรังแกมีร้อยละ 23.67 และกลุ่มผู้รังแกร้อยละ 5.85 ทั้ง 4 กลุ่มมีรูปแบบการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องมีคะแนนรูปแบบเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่สุด, ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้แหล่งสนับสนุนอื่นๆและด้านหลีกเลี่ยงปัญหา กลุ่มผู้ถูกรังแกมีคะแนนรูปแบบการเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่รูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นวิธีที่จะใช้จัดการกับความเครียดแต่ละคนมีรูปแบบที่เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลเรื่องรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกในไทยและต่างประเทศยังมีไม่มากและการศึกษาที่ผ่านมายังพบข้อสรุปที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน

Author Biographies

รักษ์พล สุระขันธ์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตปริญญาโท สาขาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศศิธร ปรีชาวุฒิเดช, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ พญ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2556). ร้อยละและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการข่มเหงรังแกในเด็กนักเรียนมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ชยานันท์ โคสวรรณ์ สุนทร คำนวล และธัญญรัศม์ ทองคำ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(2), 30-44.

ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี, สิรินัดดา ปัญญาภาส และฐิตวี แก้วพรสวรรค์. (2558). กลยุทธในการแก้ปัญหาการถูกรังแกของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(4): 275-286.

วีณา มิ่งเมือง. (2540). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิด พิจารณาความเป็นจริงต่อกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา.

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน และจอมสุรางค์ โพธิสัตย์. (2560) ร้อยละของประสบการณ์รังแกและโรคร่วมจิตเวชในนักเรียนไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 25(2), 96-106.

สมบัติ ตาปัญญา. (2549). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สวพร มากคุณ, ดลดาว ปูรณานนท์ และเพ็ญนภา กุลนภาดล. (2561). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(2), 54-67.

Andreou, E. (2001). Bully/victim problems and their association with coping behaviour in conflictual peer interactions among school-age children. Educational Psychology, 21(1), 59-66.

Bijttebier, P., & Vertommen, H. (1998). Coping with peer arguments in school‐age children with bully/victim problems. British Journal of Educational Psychology, 68(3), 387-394.

Braun-Lewensohn, O., Alziadana, S., & Eisha, H. (2015). Coping resources and extra-curricular activity as explanatory factors of exposure to violence: Comparing Jewish and Arab youth in Israel. The journal of primary prevention, 36(3), 167-176.

Frydenberg, E. (1997). Adolescent coping: Theoretical and research perspectives. Psychology Press.

Gaffney, H., Farrington, D. P., & Ttofi, M. M. (2019). Examining the Effectiveness of School-Bullying Intervention Programs Globally: a Meta-analysis. International Journal of Bullying Prevention, 1(1), 14-31.

Khamis, V. (2015). Bullying among school-age children in the greater Beirut area: Risk and protective factors. Child abuse & neglect, 39, 137-146.

Kodish, T., Herres, J., Shearer, A., Atte, T., Fein, J., & Diamond, G. (2016). Bullying, depression, and suicide risk in a pediatric primary care sample. Crisis.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Coping and adaptation. The handbook of behavioral medicine, 282325.

Olweus, D. (1996). The revised Olweus bully/victim questionnaire. University of Bergen, Research Center for Health Promotion.

Vaillancourt, T., Trinh, V., McDougall, P., Duku, E., Cunningham, L., Cunningham, C., ...

& Short, K. (2010). Optimizing population screening of bullying in school-aged

children. Journal of School Violence, 9(3), 233-250.

Völlink, T., Bolman, C. A., Dehue, F., & Jacobs, N. C. (2013). Coping with cyberbullying: Differences between victims, bully‐victims and children not involved in bullying. Journal of community & applied social psychology, 23(1), 7-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16