การสร้างแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิตยา สิงห์สา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นวรินทร์ ตาก้อนทอง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อรอุมา เจริญสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการติดเกมออนไลน์, โรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร, เกณฑ์ปกติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด จำนวน 375 คน ส่วนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด จำนวน 375 คน และส่วนที่ 3 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัด จำนวน 375 คน แบบวัดที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นข้อคำถามเชิงสถานการณ์ แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก ที่มุ่งวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ฯ จำนวน 21 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.486-0.836 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.852 2) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด จากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Confirmatory Factor Analysis : The second Order) พบว่า โมเดลแบบวัดพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 188.213, df= 175, p= 0.234, GFI = 0.954, AGFI = 0.940, RMSEA = 0.014, SRMR = 0.409) แสดงว่าข้อคำถาม ทั้ง 21 ข้อ ที่ใช้วัดพฤติกรรมใน 4 ด้าน คือ ด้านการใช้เวลา ด้านความต้องการในการเล่น ด้านการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม และด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง มีความเที่ยงตรง และ 3) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนในรูปของคะแนนมาตรฐาน T ปกติ ในภาพรวม นักเรียนที่มีพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในระดับสูง จะมีคะแนน T ปกติ ตั้งแต่ 57 เป็นต้นไป โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร ส่วนมาก (ร้อยละ 47.733) มีคะแนน T ปกติ ระหว่าง T43-T56

Author Biographies

นิตยา สิงห์สา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิสิตปริญญาโท แขนงวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นวรินทร์ ตาก้อนทอง, สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อรอุมา เจริญสุข, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2556). ร้อยละและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการข่มเหงรังแกในเด็กนักเรียนมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ชยานันท์ โคสวรรณ์ สุนทร คำนวล และธัญญรัศม์ ทองคำ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 34(2), 30-44.

ธิดารัตน์ ปุรณะชัยคีรี, สิรินัดดา ปัญญาภาส และฐิตวี แก้วพรสวรรค์. (2558). กลยุทธในการแก้ปัญหาการถูกรังแกของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(4): 275-286.

วีณา มิ่งเมือง. (2540). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิด พิจารณาความเป็นจริงต่อกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา.

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน และจอมสุรางค์ โพธิสัตย์. (2560) ร้อยละของประสบการณ์รังแกและโรคร่วมจิตเวชในนักเรียนไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 25(2), 96-106.

สมบัติ ตาปัญญา. (2549). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สวพร มากคุณ, ดลดาว ปูรณานนท์ และเพ็ญนภา กุลนภาดล. (2561). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(2), 54-67.

Andreou, E. (2001). Bully/victim problems and their association with coping behaviour in conflictual peer interactions among school-age children. Educational Psychology, 21(1), 59-66.

Bijttebier, P., & Vertommen, H. (1998). Coping with peer arguments in school‐age children with bully/victim problems. British Journal of Educational Psychology, 68(3), 387-394.

Braun-Lewensohn, O., Alziadana, S., & Eisha, H. (2015). Coping resources and extra-curricular activity as explanatory factors of exposure to violence: Comparing Jewish and Arab youth in Israel. The journal of primary prevention, 36(3), 167-176.

Frydenberg, E. (1997). Adolescent coping: Theoretical and research perspectives. Psychology Press.

Gaffney, H., Farrington, D. P., & Ttofi, M. M. (2019). Examining the Effectiveness of School-Bullying Intervention Programs Globally: a Meta-analysis. International Journal of Bullying Prevention, 1(1), 14-31.

Khamis, V. (2015). Bullying among school-age children in the greater Beirut area: Risk and protective factors. Child abuse & neglect, 39, 137-146.

Kodish, T., Herres, J., Shearer, A., Atte, T., Fein, J., & Diamond, G. (2016). Bullying, depression, and suicide risk in a pediatric primary care sample. Crisis.

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Coping and adaptation. The handbook of behavioral medicine, 282325.

Olweus, D. (1996). The revised Olweus bully/victim questionnaire. University of Bergen, Research Center for Health Promotion.

Vaillancourt, T., Trinh, V., McDougall, P., Duku, E., Cunningham, L., Cunningham, C., ...

& Short, K. (2010). Optimizing population screening of bullying in school-aged

children. Journal of School Violence, 9(3), 233-250.

Völlink, T., Bolman, C. A., Dehue, F., & Jacobs, N. C. (2013). Coping with cyberbullying: Differences between victims, bully‐victims and children not involved in bullying. Journal of community & applied social psychology, 23(1), 7-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16