การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาชีพบัญชียุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พิชชาพร ธรรมรัตน์ สาขาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุวิมล ติรกานันท์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ ภาควิชาการประเมินและวิจัย คณะศึกษาศาสตาร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, นักวิชาชีพบัญชี

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชียุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน       ในมุมมองของนักวิชาชีพบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ นักวิชาชีพบัญชี   ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี ทำการสุ่มแบบช่วงชั้น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล    กลุ่มตัวอย่างนักวิชาชีพบัญชียุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 524 คน วิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ ด้วยการสกัดองค์ประกอบเทคนิค Principal Component Analysis และใช้การหมุนแกนแบบ Varimax

            ผลการศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า สมรรถนะนักวิชาชีพบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี
มีองค์ประกอบ 17 องค์ประกอบ คือ 1) ความสามารถจัดทำ นำเสนอและรายงานงบการเงิน 2) ความสามารถคิด วิเคราะห์ข้อมูลในงบการเงิน 3) จรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชี 4) ความสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 5) ความสามารถในการปิดบัญชี
6) ความชำนาญทางตัวเลข 7) ความสามารถทำงานเป็นทีม 8) ความสามารถประเมินความเสี่ยงทางการเงิน 9) ความสามารถที่จะเข้าใจในข้อมูลที่ได้รับ 10) ความสามารถใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป 11) ความสามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน 12) ความสามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสาร 13) ความสามารถในการตรวจสอบและซักถาม 14) ความสามารถระบุปัญหา และนำส่งภาษีอากร
15) ความสุภาพ อ่อนโยน 16) ความสามารถค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง และ 17) ความสามารถในการพัฒนาความรู้วิชาชีพบัญชี องค์ประกอบทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 82.796

References

กาญจนา มงคลนิพัทธ์ และ นิตยา มณีนาค. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง คุณสมบัตินักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
กุสุมา ดำพิทักษ์ และคณะ. (2556). นักบัญชีที่องค์กรธุรกิจต้องการ “เก่ง+ดี”. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดปทุมธานี. (2560). ข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดทำบัญชี. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปทุมธานี.
ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ตามทัศนะของหัวหน้าบัญชี. RMUTT Global Business and Economics Review. 10 (2). (141-152).
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2548). การสอบบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.พี.เอ็น เพรส.
บุญรวย นะเป๋า. (2556). สมรรถนะตามหลักสูตรการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการทำงาน: กรณีศึกษา นักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิ จ (สสอท.). 2 (2). 1-9.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาพร ทิมบำรุง. (2558). สมรรถนะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่คาดหวังของผู้บริหารในสายงานบัญชีและการเงินในบริษัทมหาชน. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). แนวโน้มวิชาชีพบัญชีไทยต่อกลุ่มประเทศอาเซียน (AEC) และก้าวทันกับมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. เอกสารอัดสำเนา โครงการอบรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ศิริรัตน์ พิริยธนาลัย และ จุฑาเทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2553). Competency สมรรถนะ เข้าใจ ใช้เป็น เห็นผล. กรุงเทพมหานคร: ซิกเนเจอร์ โซลูชั่นส์.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (ฉบับปรับปรุง Volume 2015). ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560, จาก http://www.fap.or.th/มาตรฐานวิชาชีพบัญชี/มาตรฐานการศึกษาและเทคโนโลยี.html
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2551). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency base learning (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2547). นักบัญชีในบทบาทของ ซี.เอฟ.โอ: Role of accountants as chief financial officers. Naresuan University Journal. 12 (2). 51-56.
สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. (2559). ข้อมูลจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนจังหวัดปทุมธานี ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560, จาก https://userdb.Diw.go.th.results 1.asp
Boyatzis, R. (1982). The Competent Manager: A Model for Effective Performance. New York:
Wiley Inter-science.
Hair, J.F., Black, W.C., Bain, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate Data Analysis. Upper Saddle River. NJ: Pearson Education International.
Hoge, M. A., Tondora, J., & Marrelli. A. (2005). The fundamental of workforce Competency: Implications for behavioural health. Administration and Policy in Mental Health. 32 (5). 509-531.
Kristine N. Palmer, Douglas E. Ziegenfuss, Robert E. Pinsker. (2004). International knowledge, skills, and abilities of auditors/accountants: Evidence from recent competency studies. Managerial Auditing Journal. 19 (7). 889-896.
Mundfrom, D.J., Shaw, D.G. & Ke, T.L. (2009). Minimum Sample Size Recommendations for Conducting Factor Analyses. International Journal of Testing. 5. 155-168
Slocum, J.W., Jackson, S.E., & Hellrieget, D. (2008). Competency-based management. Mason OH: Thomson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01