ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ สินแท้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุวิมล ติรกานันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก, เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก, ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก และ (3) สร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำนวน 933 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis-MRA) แบบ Enter เพื่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในภาพรวม และแบบ Stepwise เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ทำนาย ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.85 จากคะแนนเต็ม 44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 54.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.55 เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 63.82
จากคะแนนเต็ม 85 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 63.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.57 บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 39.14 จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.84 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.44 จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.25
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.74 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.79 จากคะแนนเต็ม 44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 58.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.52 2) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก พบว่า 2.1) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างตัวแปรตาม คือพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปาก กับตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ เบี้ยเลี้ยงที่ได้รับต่อวัน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก เท่ากับ .707 โดยชุดตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตาม (R2) ได้ร้อยละ 49.9 2.2) พฤติกรรมการบริโภคอาหาร เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การดูแลสุขภาพในช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากมากที่สุด คือ บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก (β = 0.553) รองลงมาคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (β = 0.179) เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก (β = 0.175) และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก
(β = -0.058) ตามลำดับ และ (3) จากความสัมพันธ์สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

Ŷ = 1.189 + 0.260 บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก + 0.221 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร + 0.164 เจตคติต่อการดูแลสุขภาพในช่องปาก – 0.125 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก

References

จินตนา เถาปาอินทร์. (2559). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา. วารสารนเรศวรพะเยา. 9 (3). กันยายน - ธันวาคม 2559. 43-44.

จันทร์เพ็ญ เกสรราช. (2560). พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพในช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล. 28 (2). กรกฎาคม – ธันวาคม 2560. 28-44.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรภัทร สุดโต. (2560). การวัดเจตคติ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 34 (96). กรกฎาคม-ธันวาคม 2560. 1-14

ธัญญาภรณ์ อุทร. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 9 (2). กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. 111-120.

นัฐวุฒิ โนนเภา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 29 (1). มกราคม - มิถุนายน 2561. 26-35.

ปิติฤกษ์ อรอินทร์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิชัย ศรีคำ. (2560). พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดนครปฐม. วารสาร

สหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2 (1). มกราคม - ธันวาคม 2560. 1-14.

ศิริพร คุยเพียภูมิ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียน นครวิทยาคม ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: ผู้แต่ง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ข้อมูลจำนวนนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา สพม. เขต 1 ปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2562 จาก http://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101701

สิยาภา พนังแก้ว วัชรสินธุ์. (2556). ปัจจัยระดับบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปี ที่ 6 ในอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัญชลี มะเหศวร. (2550). ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในนักเรียนประถมศึกษา อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนสถิติพื้นฐานตามแนวทางกรอบความคิดเปิดกว้างสำหรับนิสิตปริญญาตรี หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ. 35 (98). กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 1-11

Kumar, S., Tadakamadla, J., Kroon, K., & Johnson, W. N. (2016). Impact of parent-Related factors on dental caries in the permanent dentition of 6-12-year-old children: A systematic review. Journal of Dentistry. 46, 1-11. Doi: dx.doi.org/10.1016/j.jdent.2015.12.007

Lian, W. C., Phing, S. T., Chat, C. S., & Shin, C. B. (2010). Oral health knowledge, attitude and practice among secondary school students in Kuching, Sarawak. Archives of Orofacial Sciences. 5 (1). 9-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01