ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกม

ผู้แต่ง

  • ปานวาด สุวรรณคาม สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทองปาน บุญกุศล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

คำสำคัญ:

วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es), เกม, การคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถทางการคิดวิเคราะห์       การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกมเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ประชากรที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มโรงเรียนพระอินทร์ สังกัดสำนักงาน     เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างได้มาได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเพิ่มประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้  ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกม สาระภูมิศาสตร์ เรื่องทวีปเอเชีย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ เรื่องทวีปเอเชีย เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกม
มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์เท่ากับ 21.79 และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์เท่ากับ 14.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 4.17 และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์เท่ากับ 2.56
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับการใช้เกม เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ค่าที่ได้มีค่าเทียบเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. PISA รั้งท้ายเหตุ’อ่าน-ตีโจทย์’ไม่แตก สกว.เผยผลวิจัยเด็กไทยคิดวิเคราะห์ต่ำมาก. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562 Available from : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=47008&Key=hotnews.

กัลยา คงถอด. (2557). การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 31 (89). 27-32

จิรัสยา นาคราช. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ ของพืชดอกโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 35 (97). 56-70

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวุฒิ สุขสถิตย์. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความรู้ที่คงทน และการสำรวจความพึงพอใจ โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเพลง เรื่องเขตภูมิอากาศเคิปเปิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. วารสารวัดผลการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 32 (91). 70-84

วัชราพร ฟองจันทร์ และคณะ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม). 301-314

ศรีสุวรรณ ศรีสร้อย. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน. 9 (26). 191-202

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. Available from : https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .

. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .

สุวิทย์ มูลคํา. (2553). กลยุทธ์...การสอนคิดวิเคราะห์(พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

หัทยา โรจน์วิรัตน์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (3). 238 -250

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of education objectives handbook I: Cognitive domain. New York : David McKay.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5 model.The Science Teacher. 70 (6). 56-59.

Gurbuz, F. Turgut, U. & Salar, R. (2013). The Effect of 7E Learning Model on Academic Achievements and Retention of 6th Grade Science and Technology Course Students in the Unit “Electricity in Our Life. Turkish science education. 10 (3). 91.

Jigme, K. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ผ่านเกม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนเกรด 7 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศภูฏาน.วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 11 (1). 1-12

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01