การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน และทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์และการจัดการเรียนรู้แบบ KWL PLus

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ พุทธโชติ สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฎ ณ สุนทร วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยปรัชญาและการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ด้านการอ่าน, ทักษะการคิดวิเคราะห์ ), การจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์, การจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Pretest - Posttest Two Group Design โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์และการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus  
2) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์ 3) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus 4) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์และการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus 5) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์ 6) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลชุมชนบางบ่อ (ศุภพิพัฒน์รังสรรค์) อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 คน จาก 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน และทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และสถิติทดสอบ t – test independent และ t – test dependent

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทย จากการจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์และการจัด
การเรียนรู้แบบ KWL Plus แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 2) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านวิชาภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย จากการจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์และการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
5) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเมอร์ดอกซ์ สูงกว่าก่อนการจัด การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กวีนา ศิลารวม (2560). “การศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคบูรณาการของ Murdoch ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด”. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11 (1). 1-11

ไกรษร ชายฮวด (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4 (3). 15-23.

จันทิมา มะเกลี้ยง (2561). “รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีบูรณาการของเมอร์ดอกซ์กับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (1). 119-128.

จินดารัตน์ ฉัตรสอน (2560). “การศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคKWL ร่วมกับแบบฝึก”. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (1). 141-151

จีรนันท์ พูลสวัสดิ์ (2556). “การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL Plus”.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์). 5 (10). 24-27

ชมัยภรณ์ บัวระบัดทอง ( 2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 9 (1). 67-78.

ชุติมา ป่าสนฑ์ (2558).การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ร่วมกับเทคนิคการอ่าน KWL Plus”. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9 (4). 45-53

ธัญญาลักษณ์ สังข์แก้ว (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยวิธี KWL Plus และวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรัชฌา ทันใจชน (2552). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเขียนแผนความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่จัการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นราธิป เอกสินธุ์ (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ดอกซ์.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 7 (3). 464-477

บรรจง แสงนภาวรรณ (2557). “การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการสอน KWL Plus”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 7 (2). 448-460.

พันทิพา เย็นญา (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา สํานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 36 (99). 28-40.

เพียงฤทัย เทพอักษร(2557). “การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกซ์”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา. 7 (2). 20-30

มนภรณ์ ใจรอบรู้ (2551). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรี แก้วสาระ (2556). ผลของ KWL Plus ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรับรู้ความสามารถ ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนสองภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ . 5 (2). 83-94.

วิมลนาฏ วิทูรางกูร (2560). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL กับแบบ KWL PLUS”. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23 (ฉบับพิเศษ). 182-193

สุชนินธ์ บัณฑุนันทกุล (2558).ประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ กับการพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 16 (1). 59-67.

สุนารี เธียรธารณา (2549). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธี MIA .สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนันทา สมใจ (2556). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสมารถการอ่านภาษาไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 30 (88). 1-11.

สุรบดินทร์ ประสารทรัพย์ (2561). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบบรูณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 11 (2). 175-186

เสาวนีย์ ธนะสาร (2553). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการสอนอ่านตามแนวการสอน แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค. ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวนีย์ ธนะสาร (2555). “การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการสอนอ่านตามแนวการสอน แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15. 105-116..

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 2 (2561). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) สืบค้นจาก http://www.spn2.go.th/samutprakan2

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรพัทธ ศิริแสง (2558). “การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA”. Veridian E-Journal Silapakorn University: ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (3). 864-879.

อัจฉรา แสงทับทิม (2558). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนอ่าน KWL PLUS ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาเส๊าะ สาแหม (2559). “การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 12 (4). 190-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01