การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินผลโครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ ลาวน้อย สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การพัฒนาโมเดล, โมเดลเชิงตรรกะ, โครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะสำหรับการประเมินผลโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านเศรษฐกิจ โดยศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ กระบวนการดำเนินงาน กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ มีการกำหนดขอบเขตการวิจัยโดยคัดเลือกโครงการที่มีการดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลา 3 ปี คือ โครงการเพาะเห็ด
ปลอดสารพิษและการแปรรูปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะ และระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมองค์ประกอบต่าง ๆ ของโมเดล เครื่องมือที่ใช้ใน  การวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบปลายเปิด แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม
เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมองค์ประกอบต่าง ๆ ของโมเดลเชิงตรรกะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาโมเดลเชิงตรรกะในภาพรวมมีองค์ประกอบความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า 3 องค์ประกอบ ด้านกิจกรรม 3 องค์ประกอบด้านผลผลิต 3 องค์ประกอบ ด้านผลลัพธ์ระยะสั้น 3 องค์ประกอบ ด้านผลลัพธ์ระยะกลาง 3 องค์ประกอบ ด้านผลลัพธ์ระยะยาวหรือผลกระทบ 3 องค์ประกอบ ด้านสาเหตุและความสำคัญของปัญหา 1 องค์ประกอบ ด้านปัจจัยภายนอก 1 องค์ประกอบ และด้านข้อตกลงเบื้องต้น 1 องค์ประกอบ

References

ชยานันท์ โคสุวรรณ์ สุนทร คำนวน และธัญญรัศม์ ทองคำ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 34 (96). 30-44.

นฤมล พึ่งทอง. (2557). ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกของอุตสาหกรรมยางรถยนต์จากประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาวิดา เจริญจินดารัตน์ และดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์. (2561). งานวิจัยท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 32 (2). 152-161.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) เล่มที่ 135 ตอนที่ 82ก. กรุงเทพฯ.

โรจนา ธรรมจินดา และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา กลุ่มผักปลอดสารบ้านดอนสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 10 (4). 98-107.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2562). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์. (2559). การนำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและตัวแบบตรรกะเพื่อการปรับตัวด้านภูมิอากาศมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9 (1). 41-58.

สุวิมล ว่องวาณิช (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา: จุดประกายความคิดใหม่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอคอน พริ้นติ้ง.

Ellen Tylor-Powell & Ellen Henert. (2008). Devloping a logic model: Teaching and training guide. สืบค้นจาก https://fyi.extension.wisc.edu/programdevelopment/files/2016/03/

Lisa Jaegers et al. (2014). Development of a Program Logic Model and Evaluation Plan for a Participatory Ergonomics Intervention in Construction. American Journal of industrial medicine. (57). 351-361.

W.K. Kellogg Foundation (U.S.). (2017). The Step-by-Step Guide to Evaluation: How to become Savvy Evaluation consumers. USA: W.K. Kellogg Foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01