การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน

ผู้แต่ง

  • สุภาพร เทียมบุญประเสริฐ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ทรงเกียรติ เถนว้อง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

หลักสูตรวิทยาการการประเมิน, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ และการจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นและความต้องการของบัณฑิตและนิสิตปัจจุบันเกี่ยวกับ
การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 27 คน ประกอบด้วย ศิษย์เก่า 10 คน นิสิตปัจจุบัน 11 คน และผู้ใช้บัณฑิต 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

              จุดเด่นของหลักสูตรฯ คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายตามความถนัดและความสามารถของอาจารย์ผู้สอน ทำให้นิสิตได้รับความรู้ที่หลากหลาย จึงควรจัดให้มีผู้สอนที่มีความสามารถตรงตามรายวิชา และส่งเสริมให้อาจารย์มีประสบการณ์เพื่อนำมาจัดการเรียนการสอน ศิษย์เก่าแนะนำว่า ควรเพิ่มวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านการประเมินหลากหลายสาขา เพื่อให้นิสิตมีความรู้ที่กว้างและสามารถนำไปใช้พัฒนางานในหน่วยงานตนเองได้

              ด้านการสอนแบบออนไลน์ พบว่า ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบันมีความเห็นใกล้เคียงกัน คือ ออนไลน์บางรายวิชาบรรยาย ส่วนวิชาที่ต้องทำความเข้าใจยังต้องจัดให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและอาจารย์ในชั้นเรียน วิชาปฏิบัติ   ควรจัดการเรียนการสอนแบบที่เคยดำเนินการอยู่แล้ว ประโยชน์ที่ได้คือ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและสามารถใช้ทบทวนบทเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ ด้านรูปแบบการกำกับติดตามหรือความก้าวหน้าในการทำปริญญานิพนธ์เป็นจุดเด่นของหลักสูตรฯที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย จบการศึกษาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด กลยุทธ์การติดตามที่สำคัญ
ของอาจารย์ ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์ การให้คำปรึกษารายบุคคลและรูปแบบการติดตามควรแตกต่างกันตามนิสัย
ความต้องการ และเป้าหมายการเรียนรู้ของนิสิตแต่ละคน ควรมีการทำข้อตกลงร่วมกันถึงแผนการดำเนินการเพื่อกำหนดแผนการกำกับติดตามการทำงานของนิสิต ด้านการปรับปรุงหลักสูตร สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ได้จำนวนผู้เรียนตามเป้าหมาย ประชาสัมพันธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และแสดงจุดเด่นในการพัฒนาให้นิสิตมีคุณภาพ
เน้นทักษะการสื่อสารในการทำงาน จัดประสบการณ์ให้นิสิตมีโอกาสนำเสนอผลงานแก่บุคคลภายนอกมากขึ้น

              ด้านทักษะที่ควรเพิ่มเติมคือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการทำงาน
เพื่อเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานและสังคม ผลการวิจัยพบว่า บัณฑิตมีคุณภาพเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนดคือ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการประเมิน สามารถทำการประเมินโครงการได้ สามารถถ่ายทอดความรู้ทางการประเมินให้บุคคลอื่นได้ (ข้อมูลจากนายจ้าง) การบริหารโครงการ การทำงานอย่างเป็นระบบ การคิดอย่างสมเหตุสมผล ทักษะ Soft Skill ที่เป็นจุดเด่นของบัณฑิตในหลักสูตรฯ ได้แก่ สามารถทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาในแต่ละสถานการณ์ได้ดี ส่วนทักษะสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติมคือ การใช้ภาษาต่างประเทศ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

References

จีรเนาว์ ทัศศรี. (2558). ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการปรับหลักสูตรพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิตของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 7 (3). กันยายน-ธันวาคม 2558. Retrieve Jan 20, 2017 from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/issue/view/5145

ผ่องใส ถาวรจักร. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีการศึกษา 2554. วิทยาลัยราชพฤกษ์. Retrieve Jan 20, 2017 from http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2555_Academic_Pongsai.pdf

พรทิพย์ เต็งเจริญ. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ปีการศึกษา 2554. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. (2560). รายงานการประเมินตนเองและรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) ประจำปีการศึกษา 2561. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2558 ประจำปีการศึกษา 2561 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. (2560). มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการประเมิน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). งานหลักสูตรและการเรียนการสอน สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิญญู วีรยางกูร. (2557). การศึกษาความต้องการและความความหวังต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 3 การบูรณาการงานวิจัยไทยเชื่อมโยงกับเครือข่ายสังคมอาเซียน.

สุภาณี อินทน์จันทน์. (2555). ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง/ผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2555สถาบันการบินพลเรือน. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 ประเทศไทย 30-31 มีนาคม 2558.

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2559). อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัว พัฒนาตัวเอง และเตรียมตัวตกงาน. ผู้จัดการออนไลน์ Retrieve Jan 25, 2017 from www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000129178

Ministry of Education Singapore. (2016). Education Statistics Digest 2016. Management Information Branch, Research and Management Information Division. Retrieve October 9, 2016 from https://www.moe.gov.sg/docs/default-source/document/publications/education-statistics-digest/esd-2016.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01