ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • อัสรี อนุตธโต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พาสนา จุลรัตน์ สาขาวิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นฤมล พระใหญ่ สาขาวิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการข่มเหงรังแก, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 452 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการควบคุมตนเอง แบบวัดความคับข้องใจ แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครอบครัว แบบวัดสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน แบบวัดพฤติกรรมการใช้สื่อ และแบบวัดพฤติกรรมการข่มเหงรังแก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการแบบนำเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคับข้องใจกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแกมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นบวกสูงสุด (r=0.37) รองลงมาคือ การควบคุมตนเองกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นลบสูงสุด (r=0.33) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครอบครัวกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแก (r=-0.17) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อนและพฤติกรรมการใช้สื่อกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแกมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็นลบ (r=-0.15) ตามลำดับ และ
2) ปัจจัยความคับข้องใจส่งผลต่อพฤติกรรมการข่มเหงรังแกสูงสุด ( =0.31) รองลงมาคือ การควบคุมตนเอง ( =-0.23) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครอบครัว ( =-0.19) และการเห็นคุณค่าในตนเอง ( =-0.15) ตามลำดับ

References

กันยา สุวรรณแสง. (2535). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

เกษตรชัย และหีมและอุทิศ สังขรัตน์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะทางจิต ปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว และปัจจัยอิทธิพลความรุนแรงกับพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. 4 (2). 65-82.

เกษตรชัย และหีมและอุทิศ สังขรัตน์. (2557). ปัจจัยในการพยากรณ์พฤติกรรมการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 54 (1). 227-258.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2556). จิตวิทยาพัฒนาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชุตินาถ ศักรินทร์กุลและอลิสา วัชรสินธุ์. (2557, กรกฎาคม-กันยายน). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 59 (3). 221-230.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทิพย์วรรณ จุลีรัชนีกรและคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น (12-25 ปี) ในตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัย ราชภัฎสงขลาครั้งที่ 6 การศึกษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. สงขลา.

ไทยพีบีเอส. (2561). นักวิชาการชี้ เด็ก"ขี้อาย-แตกต่าง-กลุ่มชาติพันธุ์" เป้าหมายถูกรังแก. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/269851

ธนัญญา คนอยู่. (2547). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนรัญชรา ไชยยา บุญเสริม หุตะแพทย์ และสุรพร เสี้ยนสลาย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการรังแกของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดลำปาง. การประชุมผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยแห่งชาติ ครั้งที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มณฑิรา จารุเพ็ง. (2560). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

รักษ์พล สุระขันธ์และศศิธร ปรีชาวุฒิเดช. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (100). 191.

รัชนีกร ทรัพย์ชื่นสุข. (2556). การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย. รายงาน สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์, มหาวิทยาลัยสยาม.

รัศมีแสง หนูแป้นน้อย ทัศนา ทวีคูณ และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2561). การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมรังแกกันในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 32 (3). 13-32.

วิพาพร บุญวงษ์. (2551). การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเห็นคุณค่าในตนเอง และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบไฮ/สโคป กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2553). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภรดา ชุมพาลีและทัศนา ทวีคูณ. (2562, กันยายน-ธันวาคม). พฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33 (3). 136.

สกล วรเจริญศรี. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณค่าแห่งตนจากแนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์. (2545). แนวการศึกษาชุดวิชาจิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา หน่วยที่ 4 บทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช.

อภิญญา เยาวบุตรและคณะ. (2558, พฤษภาคม). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่นวัยรุ่นตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล. 29 (2). 71-84.

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว พลเทพ วิจิตรคุณากร และสาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2559). ข้อเท็จจริงและตัวเลข: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย ธันยากร ตุดเกื้อ. (2560, มกราคม-เมษายน). พฤติกรรมการรังแกบนโลกไซเบอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28 (1). 94.

Bolton, J., & Stan, S. (2006). No Room for Bullies : From the Classroom to Cyberspace Teaching Respect Stopping Abuse and Rewarding Kindness. United States: Boys Town Press.

Hinduja, S.; & Patchin, J.W. (2012). School Climate 2.0: Preventing Cyberbullying and Setting Classroom at a Time. Thousand Oaks. CA: Routledge.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.

Master, Backline. (2002). Bullying. R.I.C. Publication.

Olweus. D. (1995). Bullying at school: What we know and what we can do. Cambridge. MA: Blackwell.

Porhola, Maili; Karhunen, Sanna; & Raiivaara, Sini Tuikka. (2006). Bullying at School and in the Workplace: A Challenge for Communication Research. Annals of the International Communication Association.

Rosenbaum, M. (1980). Individual differences in self-control behaviors and tolerance of painful stimulation. Journal of Abnormal Psychology. 89 (4). 371-373.

Sander, Cherel E.; & Phye, Gary D. (2004). Bullying: Implications for the classroom. Elsevier Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01