ผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อความเครียดเชิงวิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • เทอดพงษ์ แตงไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ประชา อินัง ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความเครียดเชิงวิชาการ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, การปรึกษารายบุคคล, ทฤษฎีเล่าเรื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อความเครียดเชิงวิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ที่มีอายุ 15 – 18 ปี มีผลคะแนนจากแบบวัดความเครียดเชิงวิชาการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุดลงมา สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน ทำการสุ่มโดยการจับคู่คะแนน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความเครียดเชิงวิชาการ และโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่อง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผู้วิจัยดำเนินการปรึกษารายบุคคล จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลการทดลอง วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีบอนเฟอร์โรนี่ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดเชิงวิชาการต่ำกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดเชิงวิชาการในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

นพพร ปานขาว. (2561). ผลการปรึกษาทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการยอมรับ ของภรรยาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 81-91.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การปรึกษาวัยรุ่น Adolescent Counseling (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.

สวพร มากคุณ. (2561). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการให้อภัยของนักเรียน อาชีวศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 54-67.

Blanca E, M. d., Martín A, María d. l., & Diemen D. (2017). Academic stress as a predictor of chronic stress in university students. University of Guadalajara, México.

García-Ros, R., Pérez-González, F., & Tomás, J. M. (2018). Development and Validation of the Questionnaire of Academic Stress in Secondary Education: Structure, Reliability and Nomological Validity. International Journal of Environmental Research and Public Health. 15 (9). 1-14.

Howell, D. C. (2007). Statistical methods for psychology (6th ed.). Belmont, CA: Thomson Wadsworth.

Liu, F. (2017). Academic stress and mental health among adolescents in Shenzhen, china. Dissertation for Master of Public Health (Research), Faculty of Health Queensland University of Technology.

Sea-Mist. (2016, 21 กันยายน). 40 อันดับ โรงเรียนในภาคตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2559. https://campus.campus-star.com/education/20540.html

White, M., & Epston, D. (1990). Narrative means to therapeutic ends. New York: W. W. Norton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01