ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การจัดการชั้นเรียน, นิสิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียน ประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียน และสังเคราะห์เนื้อหาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนสำหรับนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 90 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ 3 กลุ่มคือ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาชีพครู นิสิต และครูผู้สอนในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีการเลือก แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เรื่องความต้องการจำเป็น ในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์เรื่องความจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น และการสังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

ผลที่ได้จากแบบสอบถามทั้ง 3 ด้าน พบว่า ค่า PNI modified อยู่ระหว่าง .231-.301 โดยด้านที่มีระดับความต้องการจำเป็นที่มีคะแนนสูงคือ ด้านครูมีค่าเท่ากับ .301 เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่าระดับความต้องการจำเป็นที่มีคะแนนสูงคือข้อมีความรู้ในการจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบได้ค่าเท่ากับ .577 รองลงมาคือสามารถสร้างสัญญาที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามกติกาที่ร่วมตกลงกันไว้ได้ค่าเท่ากับ .488 และอันดับที่ 3 คือ มีทักษะในการเข้าใจผู้เรียน ได้ค่าเท่ากับ .351 ในภาพรวมเมื่อวิเคราะห์ระดับความต้องการจำเป็น โดยอยู่ระหว่าง .141-.577 และจากการสัมภาษณ์ทั้ง 3 กลุ่มจากการสังเคราะห์ข้อมูลพบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นตรงกันในการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนให้กับนิสิตก่อนที่จะออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ความมั่นใจ สามารถประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้

References

ณิรดา เวชญาลักษณ์ และ ธัญญาพร ก่องขันธ์. (2562). แนวปฏิบัติการบริหารจัดการชั้นเรียนของครูปฐมวัยตามแนวห้องเรียนคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา. 16 (16). 23-30.

ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37 (102). 28-42.

พนิดา ชาตยาภา. (2563). การจัดการชั้นเรียนเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14 (3). 223-240

วิภาดา กาลถาง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (97). 80-90.

รัชดา แสงพุก และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37 (102). 14-27.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน (Classroom Management). กรุงเทพฯ: ทริปเพิลเอ็ดดูเคชั่น.

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น . พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลกรณ์ มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01