การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
คำสำคัญ:
องค์ประกอบเชิงยืนยัน, สมรรถนะความเป็นพลเมืองดี, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่า ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร โดยในงานวิจัยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 16 ตัวแปรสังเกตได้ ดังนั้น จึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจริง 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.69 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.92 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.98 องค์ประกอบที่ 2 ความสามารถในการสื่อสาร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.96 องค์ประกอบที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95 องค์ประกอบที่ 4 ความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.94 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไค-สแคว์ (Chi-Square) ( ) เท่ากับ 248.74,
df = 216, p = .062, CFI = 1.00, AGFI = 0.92, RMSEA = 0.022 แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาอธิบายสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีได้ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
ชวนีย์ พงศาพิชณ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในกรุงเทพมหานคร : ปัญหาและแนวทางการส่งเสริม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 6 (1). 33-49.
ชาญณรงค์ วิไลชนม์ และทัศนศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะความเป็นคนดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 37 (101). 88-103.
รัชดา แสงพุก และมนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 37 (102). 14-27.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สุนันท์ สีพาย. (2562). บทความของครูไทยในการศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 25 (2). 3-14.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). การพัฒนาทักษะความคิดระดับสูง : Developing Higher Level of Thinking Skills. นครปฐม : ไอ คิว บุ๊คเซ็นเตอร์.
Hair et al. (2006). Multivariate data analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education International.
Kahne, Joseph, & Westheimer, J. (2004), Summer. What Kind of citizen? The politics of educating for democracy. American Educational Research Journal. 41 (2). 237- 269.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times.San Francisco, CA: John Wiley & Sons.