การพัฒนามาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

ผู้แต่ง

  • วธัญญา วรสายัณห์ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทราวดี มากมี วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะพฤฒพลัง, ผู้สูงอายุตอนต้น, การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนามาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนองค์ประกอบภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด และเพื่อสร้างปกติวิสัยมาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในรูปตารางตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์และคะแนนทีปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 1,200 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสองและมีการวิเคราะห์กลุ่มพหุ ด้วยโปรแกรม Mplus

ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) มาตรวัดภาวะพฤฒพลัง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สุขภาพ การมีส่วนร่วม การมีหลักประกัน และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย โดยมีข้อคำถามทั้งหมด 41 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อมากกว่า .780 ทุกข้อ ค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .309 ถึง .693 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .972 ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณา relative chi-square =.716, SRMR = .019, RMSEA = .024, CFI = .995, TLI = .991 2) ผลการตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนองค์ประกอบของมาตรวัดภาวะพฤฒพลัง ปรากฎว่า มีความแปรเปลี่ยนองค์ประกอบในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด 3) ปกติวิสัยมาตรวัดภาวะพฤฒพลัง จำแนกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับสูง    มีเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 50 และระดับต่ำ มีเปอร์เซ็นไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 สรุปได้ว่า มาตรวัดภาวะพฤฒพลัง มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น และมีความแปรเปลี่ยนองค์ประกอบในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด

Author Biographies

วธัญญา วรสายัณห์, วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

สาขาวิชาการวิจัยและวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

ภัทราวดี มากมี, วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการวิจัยและวิทยาการปัญญา หน่วยวิจัยวิทยาการปัญญาและนวัตกรรม วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562).ข้อมูลสารสนเทศ. วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/159

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2552). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1 (3), 154-162.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล. 38 (1). 6-28.

ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง, พัดชา พงษ์เจริญ, ปฐมทรรศน์ พันธุมโกมล และประวีณ โล่เลขา. (2561). อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.

นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 21 (1). 37-44.

เบญจวรรณ สีสด. (2553). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556, 13 มกราคม). การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่. วันที่ค้นข้อมูล 23 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/potarticle/develop2.

มาสริน ศุกลปักษ์ และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2560). องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 11 (พิเศษ). 53-63.

แววดาว พิมพ์พันธ์ดี, วสุธร ตันวัฒนกุล, กุหลาบ รัตนสัจธรรม และพัชนา ใจดี. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบของความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุข และการศึกษา. 20 (1). 77-89.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2560). เจาะลึก EECmd เขตส่งเสริมการแพทย์ครบวงจร อนาคต “Medical Hub” ของภูมิภาค. วันที่ค้นข้อมูล 11 กรกฎาคม 2562,เข้าถึงได้จาก https://www.eeco.or.th/pr/news/InsightEECmdTUPattayaMedicalHub.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ:

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

อัจฉรา ปุราคม. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

CEO News. (12 February, 2018). EEC คืออะไร? เจาะลึกยุทธศาสตร์ผลักดัน SMEs, Entrepreneur และ Startup ไทยให้โตไปกับพื้นที่ ‘ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ’. วันที่ค้นข้อมูล 9 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.ceoblog.co/eec-eastern-economic-corridor/

Edmonds, W. A, Kennedy, T. D. (2017). An applied guide to research designs Quantitative, qualitative, and mixed method (2nd ed.). Thousand Oak, California, USA: SAGE publications.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2014). Multivariate data analysis. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hooper, D., Coughlan, J., Mullen, M. (2008). Structural equation modelling: guidelines for determining model fit. Electronic Journal of Business Research Methods. 6 (1). 53-60

Hsu, H. (2009). Testing the effectiveness of various commonly used fit indices for detecting misspecifications in multilevel structural equation models. PhD Dissertation, Graduate Studies, Texas A & M University

LoBiondo-Wood, G., & Haber, J. (2014). Reliability and validity. Nursing researchebook: Methods and critical appraisal for evidence based practice. Missouri: Elsevier Mosby, 289-309.

Mehrens, W. A., & Lehman, I. J. (1991). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. Belmont: Holt, Rinehart and Winston.

Pallant, J. (2013). SPSS Survival Manual: A Step by Step Guide to Data Analysis Using the SPSS Program (5th ed.). New York: McGraw-Hill.

Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health. 30 (4). 459-467.

World Health Organization. (2002). Active Ageing A Policy Framework. Retrieved July 6, 2019 from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/67215/WHO.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14