การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร เกษสังข์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • แพรวนภา เรียงริลา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ประเมินความต้องการจำเป็น, สมรรถนะทางวิชาชีพครู, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดเลย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 400 คน การได้มาซึ่งตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครู ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 คน และครู จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 10 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแนวประเด็นสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีประเมินความต้องการจำเป็น โดยการหาค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจำเป็นและลำดับความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดเลย แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านสมรรถนะหลัก เมื่อพิจารณาในสมรรถนะย่อยมีความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.125 ถึง 0.253 สมรรถนะย่อยที่มีความต้องการจำเป็นลำดับแรก คือ สมรรถนะย่อยการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (PNImodified = 0.253) รองลงมา คือ สมรรถนะย่อยการพัฒนาตนเอง (PNImodified = 0.223) และสมรรถนะย่อยการทำงานเป็นทีม (PNImodified = 0.172) ส่วนสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะย่อยจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (PNImodified = 0.125)

ด้านสมรรถนะประจำสายงาน เมื่อพิจารณาในสมรรถนะย่อยมีความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.184 ถึง 0.262 สมรรถนะย่อยที่มีความต้องการจำเป็นลำดับแรก คือ สมรรถนะย่อยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (PNImodified = 0.262) รองลงมา คือ สมรรถนะย่อยการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.213) และสมรรถนะย่อยภาวะผู้นำครู (PNImodified = 0.210) ส่วนสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะย่อยการพัฒนาผู้เรียน (PNImodified = 0.184)
ด้านทักษะในอนาคต เมื่อพิจารณาในสมรรถนะย่อย มีความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.087 ถึง 0.206 สมรรถนะย่อยที่มีความต้องการจำเป็นลำดับแรก คือ สมรรถนะย่อยทักษะการสื่อสาร (PNImodified = 0.206) รองลงมาสมรรถนะย่อยทักษะในการร่วมมือ (PNImodified = 0.204) และสมรรถนะย่อยผู้สร้างสรรค์และสร้างในเด็กสร้างสรรค์ (PNImodified = 0.202) ส่วนสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะย่อยความรักและห่วงใย (PNImodified = 0.087)
2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ (2.1) ระดับหน่วยงานต้นสังกัด ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดระบบสารสนเทศและฐานคลังความรู้ที่เป็นความรู้ใหม่ทางวิชาการและวิชาชีพ จัดทำการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการสู่สาธารณะ และสร้างเครือข่ายระหว่างครูคณิตศาสตร์ (2.2) ระดับผู้บริหารสถานศึกษา ควรส่งเสริมการจัดการความรู้หรือสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภายในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียน จัดหาสิ่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการทำงาน และถอดบทเรียนครูที่ปฏิบัติการสอนดีเลิศ และ (2.3) ระดับครูผู้สอน ควรสร้างตนเองให้เป็นผู้ที่ทำงานเชิงรุก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นพี่เลี้ยงและเป็นโค้ชให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน

Author Biographies

ภัทราพร เกษสังข์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รองศาสตราจารย์ ดร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

แพรวนภา เรียงริลา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

อาจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

References

กนิน แลวงค์นิล. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กนิษฐา คูณมี, ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก และศุภชัย จันทร์งาม. (2558). ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1-5. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 6, หน้า 2-7. 30-31 พฤษภาคม 2558. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร. (2554). คู่มือถอดบทเรียน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร.

เกษมศักดิ์ ปราบณรงค์ และชวลิต ชูกำแพง. (2561). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการพัฒนาตนเองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12 (1). 18-30.

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกร. (2553). ถอดบทเรียน (นอกกรอบ) เรื่องเล่าถอดบทเรียนผ่านประสบการณ์การทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชุดโครงการระบบออนไลน์เพื่อการจัดการความรู้สุขภาวะ.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. Journal of Hrintelligence. 12 (2). 47-63.

ณพัชร ศรีฤกษ์. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายในองค์กรเพื่อการพัฒนาคนเชิงรุก. วารสารการวัดผลการศึกษา. 32 (91). 1-15.

ดนุชา สลีวงศ์, ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ และกานต์ ทองทวี. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสื่อการสอน เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (98). 134-149.

ทราย ศรีเงินยวง, อัจศรา ประเสริฐสิน และกนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์. (2563). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลแบบพฤติกรรมนิยมเพื่อเสริมสร้างทักษะ การควบคุมตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37 (101). 1-17.

ปรารถนา โกวิทยางกูร. (2558, สิงหาคม-ธันวาคม). การพัฒนาทักษะการประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนในระดับปฐมวัยในจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 9 (2)–(4). 124-139.

พิชญ์สินี ชมพูคำ, อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ และฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยทางการศึกษา. 8 (3). 1-17.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ภัทราพร เกษสังข์, อนุภูมิ คำยัง, กฤศนรัตน์ พุทธเสน และอรวรรณ เกษสังข์. (2562). สมรรถนะและการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดเลย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 11 (1). 132-134.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฎิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วรชพร ศรีไทย, มนตรี อนันต์รักษ์ และสุรชา อมรพันธุ์. (2555). สมรรถนะของครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตามทักษะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาสารคาม. 17 (1). 279-291.

วิโรจน์ ธรรมจินดา, เกียรติสุดา ศรีสุข และสุนีย์ เงินยวง. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ. 9 (2). 162-173.

วัฒนา พองโนนสูง. (2558). การถอดบทเรียนกระบวนการเรียนรู้ชุมชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม สำหรับพ่อแม่วัยรุ่น จากกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน กรณีศึกษาคลองต้นนุ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

แวฮาซัน แวทะมะ, ชวลิต เกิดทิพย์ และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2559). ความต้องการจำเป็นของอาจารย์นิเทศสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 27 (3). 24-34.

สกาวรัตน์ จรุงนันทกาล. (2556). การพัฒนาชุดการประเมินสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). กระบวนการประเมินสมรรถนะและจัดแผนพัฒนาตนเอง (ID-Plan). ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://nawaporn.files.wordpress.com

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2560). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิรินพร บ้านแสน. (2553). การศึกษาสมรรถนะการประเมินการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561)” ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2, หน้า 1-12. 28-29 ธันวาคม 2553. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

สุรยุทธ กอบกิจพานิชผล. (2561). การโค้ช (Coading) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ในภาครัฐ. ค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563, จาก Wiki.ocsc.go.th>_media>สุรยุทธ_กอบกิจพานิชผล13.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548 ก). กลยุทธ์ทางเลือกเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและสมรรถภาพการวิจัยและประเมินผลของครูมืออาชีพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนสู่โรงเรียนฐานความรู้: การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 16 (2). 193-211.

_______. (2548 ข). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัจศรา ประเสริฐสิน, นภัสนันท์ แจ่มฟุ้ง, อุไร จักษ์ตรีมงคล, มานิดา ชอบธรรม, กาญจนา ตระกูลวรกุล และเกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ. (2562). การประเมินผลการจัดบริการวิชาการแก่ชุมชน: โครงการการบูรณาการการวัด ประเมิน และการวิจัยในการจัดการเรียนการสอน. วารสารการวัดผลการศึกษา. 36 (100). 29-47.

Amirullah, A.H., & Iksan, Z.H. (2018). Lesson Study: An Approach to Increase the Competency of Out-of-Field Mathematics Teacher in Building the Students Conceptual Understanding in Learning Mathematics. Journal of Educational Science. 2 (2). 1-13.

Bellanca, J., and Brandt, R. (2010). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (แปลจาก 21 st Century Skills: Rethinking How Students Learn โดย วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ openworlds.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14