แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • วิริน เคนดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การคิดเชิงบวก, การอบรมเลี้ยงดู, ประสบการณ์ชีวิต, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ดำเนินการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาและคัดเลือกผู้ที่ ให้ข้อมูล จำนวน 22 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 3 ท่าน อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ 5 ท่าน และนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและอาจารย์ประจำด้วยแบบสัมภาษณ์ กึ่งมีโครงสร้าง และเก็บข้อมูลจากนักศึกษาจากการสนทนากลุ่ม โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกของนักศึกษา จากความเห็นผู้บริหาร ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดู 2) ประสบการณ์ชีวิต 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) สังคมและสิ่งแวดล้อม และ 5) กำลังใจจากคนรอบข้าง ครอบครัว ครูอาจารย์และกลุ่มเพื่อน จากความเห็นของอาจารย์ประจำ ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดู 2) ประสบการณ์ชีวิต 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) สื่อในเชิงบวก 5) สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวของนักศึกษา 6) ครอบครัว 7) อาจารย์ผู้สอน 8) อิทธิพลจากเพื่อน และ 9) ความเข้าใจต่อตนเองและสถานการณ์ต่าง ๆ และจากความเห็นของนักศึกษา ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดู 2) ประสบการณ์ชีวิต 3) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 4) สังคมและสิ่งแวดล้อม 5) ครอบครัว ครูอาจารย์และกลุ่มเพื่อน และ 6) ความเข้าใจในตนเอง ผู้อื่นและสถานการณ์ต่าง ๆ ส่วนแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงบวกของนักศึกษา จากความเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ประจำและกลุ่มนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่ 1) การนำนักศึกษาออกศึกษานอกสถานที่ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาได้เปิดรับและเห็นมุมมองใหม่ ๆ 2) การจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียน เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาของคณะวิชาเกิดความเข้าใจในตนเอง 3) การสนับสนุนให้นักศึกษาของคณะวิชาได้พัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และ 4) การสอดแทรกเรื่องของการคิดเชิงบวกในเนื้อหารายวิชาของคณะวิชาที่เปิดทำการสอน

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). คู่มือการสร้างสรรค์พลังใจวัยทีน. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิชชิ่ง.

จรัญญา ประสิทธิ์สุนทร และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2561). “ผลของโปรแกรมความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 29 (1). 44-54.

ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ, ไพรัช จุ่นเกตุ, นิษฐ์สินี กู้ประเสริฐ และ วิษณุ แพทย์คดี. (2562). ผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมความคิดเชิงบวกในนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู. Journal of Humanities Thonburi University. 13 (1). 158-164.

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว. (2559). “การสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยการคิดเชิงบวก.” วารสารพยาบาลตำรวจ. 8 (2). 223-230.

นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ: คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์. วารสารวัดผลทางการศึกษา.

(89). 33-45.

พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (3). 605-619.

พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2561). การคิดเชิงบวก : ตัวแปรในการพัฒนาชีวิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (3). 1958-1978.

ภัทรพรรณ บุญยะปานะสาร. (2559). แนวทางวัดประเมินมองโลกในแง่ดี. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 33 (93). 1-10.

รัตนะ บัวสนธ์. (2558). วิธีเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คำสมัย.

วันปิยะ เลิศปิยะวรรณ. (2560). ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค: แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดประเมิน. วารสารวัดผลทางการศึกษา. 34 (95). 15-27.

วิทยากร เชียงกูล. (2562). พลังแห่งการคิดบวก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พรีเพรส.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อลิชา โรเบิร์ตส์. (2555). คิดบวก เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เพชรประกาย.

Su-Ol Kim. (2017). The Effect of Self-Efficacy and Positive Thinking on Subjective Happiness of Nursing Students. Journal of Digital Convergence. 15 (12). 435-443.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14