ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

ผู้แต่ง

  • รวีวรรณ อรรถานิธี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน, บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, รูปแบบการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ รูปแบบการเรียนรู้และความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) เพื่อศึกษาตัวแปรสำคัญในการทำนาย ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย   เชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1,247 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2562 จำนวน 354 คน ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ แบบวัดรูปแบบการเรียนรู้ และแบบวัดความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิ์สัมพันธ์ เพียร์สัน ค่าทดสอบค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Stepwise

ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบแสดงตัวสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 (2) นักเรียนส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 (3) นักเรียนส่วนใหญ่มีลักษณะความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนแบบกลมกลืนสูงสุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 (4) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน มีลักษณะความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) นักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แตกต่างกัน มีลักษณะความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (6) บุคลิกภาพ ห้าองค์ประกอบและรูปแบบการเรียนรู้ ที่ร่วมกันพยากรณ์ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม รูปแบบการเรียนรู้แบบอิสระ รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและรูปแบบการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .522 และทั้ง 6 ตัวแปรร่วมกันพยากรณ์ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนได้ร้อยละ 52.20

Author Biography

รวีวรรณ อรรถานิธี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

ธนศักดิ์ จันทศิลป์, มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ และปวีณา อ่อนใจเอื้อ. (2563). ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน: การพัฒนาทฤษฎีและการวัด. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20 (2). 146-159.

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2019). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 13 (3). 181-188.

พูลพงศ์ สุขสว่าง และภัทราวดี มากมี. (2562). การพัฒนามาตรวัดบุคลิกภาพขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 25 (2). 180-192.

วาสิตา บุญสาธร. (2556). การสร้างความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์. 7 (1). 307-355.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2559). จากโลกสู่ไทย ทิศทางใหม่ของการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ปรับห้องเรียน เปลี่ยนอนาคต: เด็กยุคใหม่ต้องการอะไรจากครู Passion For Learning,. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 2 (1). 3-11.

Julien Dalpé, Martin Demers, Jérémie Verner-Filion and Robert J. Vallerand. (2019). From personality to passion: The role of the Big Five factors. Personality and Individual Differences. 183. 280-285. doi.org/10.1016/j.paid.2018.10.021

Meera Komarraju, Steven J. Karau, Ronald R. Schmeck, Alen Avdic. (2011). The Big Five personality traits, learning styles, and academic achievement. The Personality and Individual Differences. 51 (4). 472-477. doi:10.1016/j.paid.2011.04.019

Susan A. Embrose, Michael W. Bridges, Michele DiPietro, Marsha C. Lovett and Marie K. Norman. (2556). การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21: 7 หลักการสร้างนักเรียนรู้แห่งอนาคตใหม่ [How Learning Works : Seven Research-Based Principles for Smart Teaching] (วันวิสาข์ เคน, แปล). กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิล์ดส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 2010).

Vallerand J. Robert, Geneviève A. Mageau, Sarah-Jeanne Salvy, Andrew J. Elliot, Pascale L.Denis, Andrew J. Elliot, Frédéric M E Grouzet, and Céline M. Blanchard. (2007) “On the Role of Passion in Performance”. Journal of Personality. 75 (3). 505-534. doi:10.1111/j.1467-6494.2007.00447.x

Vallerand J. Robert. (2015). The psychology of passion: A dualistic model: Series in Positive Psychology. New York: Oxford University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10