ผลการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
คำสำคัญ:
แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์, กิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษา, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรม ตามแนวทางสะเต็มบนระบบ Google Sites 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้จากการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ในแต่ระยะที่แตกต่างกัน และ 3) เพื่อประเมินคุณภาพแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนบนระบบ Google Sites โดยเครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ประกอบด้วย 1) โครงร่างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) คู่มือการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ
3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4 ฉบับที่มีความเป็นคู่ขนาน และ 4) แบบประเมินคุณภาพแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนกกระจาบ (ศิริสรณ์ประชาสรรค์) จำนวน 23 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสมัครใจในการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
สรุปผลการวิจัยในแต่ละระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาคู่มือการสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ พบว่า แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ฯที่สร้างขึ้นประกอบด้วยเมนูที่สำคัญ ได้แก่ 1.หน้าแรก 2.จุดมุ่งหมาย 3.ส่วนบันทึกผลงาน
4.ประเมินผลงาน และ 5.ประวัติผู้จัดทำ โดยผลการพัฒนาโครงร่างแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ฯ ในการประเมินพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนบนระบบ Google Sites มีคุณภาพทั้ง 3 ด้าน โดยด้านการนำไปใช้มีคุณภาพมากที่สุด ส่วนด้านองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบแฟ้มสะสมงานฯ และด้านของขั้นตอนต่าง ๆ ของแฟ้มสะสมงานฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการพัฒนาคู่มือการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วย Google Sites ด้านเนื้อหาของคู่มือ และรูปแบบของคู่มือ มีคุณภาพมากที่สุด ส่งผลให้นักเรียนทุกคนสามารถสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนด้วยระบบ Google Sites ได้อย่างมีคุณภาพ ระยะที่ 2 การศึกษาพัฒนาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้จากการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาในแต่ระยะที่แตกต่างกัน พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้นหลังจากการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ และนักเรียนยังมีระดับคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน ระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาของนักเรียนบนระบบ Google Sites พบว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการสร้างแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และในภาพรวมแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่นักเรียนสร้างขึ้น
มีคุณภาพระดับดีมาก ทั้งนี้เมื่อจำแนกตามประเด็นการประเมินพบว่า มี 4 ประเด็น ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ 1) ความสอดคล้องระหว่างผลงานกับจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) การจัดระบบแฟ้มผลงานในแฟ้มเป็นลำดับ 3) การอ่านแล้วเข้าใจง่าย และ 4) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ส่วนประเด็นรูปลักษณ์ของแฟ้มมีคุณภาพอยู่ในระดับดี
References
กมลชนก ภาคภูมิ. (2561). การพัฒนาสื่อการสอนวีดิทัศน์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันเอกซ์รพเนนเชียลด้วยโปรแกรม Camtasia Studio สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวัดผลการศึกษา. 35 (97). 45-55.
กมลวรรณ ตังธนากานนท์. (2559). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559. พิมพ์ครั้งที่ 2.
โชติกา ภาษีผล,ประกอบ กรณีกิจ และ พิทักษ์ โสตถยาคม. (2558). การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่สะท้อนข้อมูลย้อนกลับในการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย.
สุพรรณี พรพุทธิชัย. (2551). อิทธิพลของการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคซิมเพล็กที่ มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนประถมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
อทิติย์ ชูตระกูลวงศ์. (2556). ผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้คำถามตามการจำแนกประเภทวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของบลูมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
อัจศรา ประเสริฐสิน และคณะ. (2562) การสร้างแอปพลิเคชันการเรียนรู้คำศัพท์ผ่าน Flash Cards ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเขียนได้ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารการวัดผล การศึกษา. 36 (99). 41-53
Al Ismail, Mazen Ibrahim I. (2018). The impact of learners' characteristics on m-learning preferences, and how m-learning preferences form choices in different contexts.
Barrett, Helen C. (2000). Create your own electronic portfolio. Learning and leading with technology, 27 (7). 14-21.
Harahap, Fauziyah, Nasution, Nanda Eska Anugrah, & Manurung, Binari. (2019). The Effect of Blended Learning on Student's Learning Achievement and Science Process Skills in Plant Tissue Culture Course. International Journal of Instruction. 12 (1). 521-538.
Shute, Valerie J. (2008). Focus on formative feedback. Review of educational research. 78 (1). 153-189.
Theodosiadou, Dimitra, & Konstantinidis, Angelos. (2015). Introducing e-portfolio use to primary school pupils: Response, benefits and challenges. Journal of Information Technology Education: Innovations in Practice. 14 (1). 17-38.
Tosun, Cemal. (2019). Scientific process skills test development within the topic “Matter and its Nature” and the predictive effect of different variables on 7th and 8th grade students’ scientific process skill levels. Chemistry Education Research and Practice. 20 (1). 160-174.