การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพและ สายอาชีพ

ผู้แต่ง

  • ขวัญธิดา พิมพการ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
  • พจนารถ เกื้อสกุล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กิตติ เกื้อสกุล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอนหลับ, ความเครียด, การรับรู้ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพและสายอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร สายสุขภาพและสายอาชีพ จำนวน 800 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถาม ในการวิจัยดัดแปลงจากแบบสอบถามที่มีผู้สร้างมาแล้ว แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ อายุ ชั้นปีที่กําลังศึกษา ส่วนที่ 2 แบบวัดความเครียด ส่วนที่ 3 แบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพ และ ส่วนที่ 4 แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามซึ่งผ่านความเห็น จากผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้ (Try out) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test หรือสถิติ (ANOVA) และสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า

1) ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพ ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 70.75 มีอายุ 21-25 ปี จำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 71.00 และกำลังศึกษาชั้นปี 2 จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 35.75 ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัยสายอาชีพส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 271 คน คิดเป็นร้อยละ 67.75 มีอายุ 21-25 ปี จำนวน 298 คน คิดเป็นร้อยละ 74.50 และกำลังศึกษาชั้นปี 2 จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 34.75

2) ระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระดับความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพ ส่วนใหญ่ ความเครียดระดับต่ำ จำนวน 289 คน (ร้อยละ 72.25) และมีความเครียดระดับปานกลาง จำนวน 111 คน (ร้อยละ 27.75) ตามลำดับ ส่วนระดับความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่ ความเครียดระดับต่ำ จำนวน 268 คน (ร้อยละ 67) และมีความเครียดระดับปานกลาง จำนวน 132 คน (ร้อยละ 33) ตามลำดับ

3) ระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพ ส่วนใหญ่ การรับรู้ภาวะสุขภาพระดับค่อนข้างดี จำนวน 254 คน (ร้อยละ 63.5) มีการรับรู้ภาวะสุขภาพระดับปานกลางจำนวน 121 คน (ร้อยละ 30.25) และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพระดับดี จำนวน 25 คน (ร้อยละ 6.25) ตามลำดับ ส่วนระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่  การรับรู้ภาวะสุขภาพระดับค่อนข้างดี จำนวน 231 คน (ร้อยละ 57.75) มีการรับรู้ภาวะสุขภาพระดับปานกลาง จำนวน 152 คน (ร้อยละ 38) และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพระดับดี จำนวน 17 คน (ร้อยละ 4.25) ตามลำดับ

4) คุณภาพการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับดี จำนวน 261 คน (ร้อยละ 65.25) และคุณภาพการนอนหลับไม่ดี จำนวน 139 คน (ร้อยละ 34.75) และนักศึกษามหาวิทยาลัยสายอาชีพ ส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนหลับดี จำนวน 225 คน (ร้อยละ 56.25) และคุณภาพการนอนหลับไม่ดี จำนวน 175 คน (ร้อยละ 43.75)

5) ปัจจัยด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ (สายสุขภาพ) และความเครียด (สายอาชีพ) ร่วมทำนายคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัยสายสุขภาพ และสายอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่คะแนนคุณภาพการนอนหลับไม่มีความสัมพันธ์กับ เพศ อายุ และชั้นปีที่กําลังศึกษา

References

ปถมาพร พันธุ์อุบล. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการตำรวจวัยทอง ในจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผาณิตา ชนะมณี, สุนุตตรา ตะบูนพงศ์, ถนอมศรี อินทนนท์. (2549). คุณภาพการนอนหลับของนักศึกษามหาวิทยาลัย. สงขลานครินทร์เวชสาร. 24. 163-73.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุมไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540) . การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง. 13. 1-20.

อัญชลี ชุ่มบัวทอง และคณะ. (2558). คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ และความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24 (5). 833-843.

Becker PM. (2006). Insomnia: prevalence, impact, pathogenesis, differential diagnosis, and evaluation. Psychiatric Clin North Am. 29 (4). 855.

Ben DT, Lee TJ. (2001). Sleep duration, subjective sleep disturbances and associated factors among university students in Korea. J Korea Med Sci. 16. 475.

Carskadon MA, Acebo C, Jenni OG. (2004) Regulation of adolescent sleep: implications for behavior. Ann NY Acad Sci. 1021. 276-91. doi: 10.1196/annals.1308.032.

Chanamanee P, Taboonpong S, Intanon T. (2006). Sleep quality and related factors among university students in southern Thailand. Songkla Med J. 24 (3). 163.

Chung, K.F. and Cheung, M.M. (2008). Sleep-Wake Patterns and Sleep Disturbance among Hong Kong Chinese Adolescents. Sleep. 31. 185-194.

Fawzy, M., & Hamed, S. A. (2017). Prevalence of psychological stress, depression and anxiety among medical students in Egypt. Psychiatry Research. 225. 186-194.

Lavidor M, Weller A, Babkoff H. (2003). How sleep is related to fatigue. Br J Health Psychol. 8. 95.

Lund HG, Reider BD, Whiting AB, et al. (2010). Sleep patterns and predictors of disturb sleep in a large population of college students. J Adolesc Health. 46. 124.

Pilcher JJ, Ott ES. (1998). The relationship between sleep and measures of health and well-being in college students: a repeated measures approach. Behav Med. 23. 170–8.

Suen LK, Tam WW, Hon KL. (2010).Association of sleep hygiene-related factors and sleep quality among university students in Hong Hong. Hong Kong Med J. 16 (3).

Virunhagarun T. (2018). Sleep right, good health for the rest of your life. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-10