การพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชนิดออนไลน์รูปแบบการสนทนากลุ่ม
คำสำคัญ:
การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ, แบบวัดออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นชนิดออนไลน์รูปแบบการสนทนากลุ่มและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 1,635 คนที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่สร้างขึ้นตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีลักษณะเป็นแบบแบบประเมินสองตัวเลือก จำนวน 12 ข้อ ผลการศึกษาพบว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .494 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมในสมรรถนะย่อยอยู่ระหว่าง .444 ถึง .682 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกข้อ และมีค่าอำนาจจำแนกตามเกณฑ์ทั้ง 12 ข้อ การประเมินระดับความสอดคล้องระหว่างคะแนนที่ได้กับสภาพที่เป็นจริง ผลที่ได้จากการประเมินนั้นสอดคล้องกับความเป็นจริงอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) โดยกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นที่มีต่อคะแนนผลการประเมินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
จรูญพงษ์ ชลสินธุ์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชนกกานต์ เนตรรัศมี. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง เคมีสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชนะชัย ทะยอม. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือโดยใช้กรอบแนวคิดแบบ DEEPER เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ. (2563). การพัฒนาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวัดผลการศึกษา, 37(102), 28-42.
ธีรฎา ไชยเดช; และคณะ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่องเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1), 51-66.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัย ทักษิณ, 27(1), 145-163.
ปาริชาต ผาสุข. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบ DEEPER scaffolding framework. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์. (2561). แนวคิดการสร้างแบบวัดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารวัดผลการศึกษา, 35(97), 10-21.
พินันทา ฉัตรวัฒนา และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2560, มกราคม - มิถุนายน). การศึกษาระบบ 4.0 สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 289-297.
พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2560). การอ่าน...กับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563 จากhttp://oknation.nationtv.tv/blog/tagadakung/2012/03/31/entry-2.
ภมรศรี แดงชัย. (2555). สสค.เปิดผลสำรวจทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.qlf.or.th/Mobile/Details?contentId=570.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving: CPS). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562 จากhttps://pisathailand.ipst.ac.th/news-9/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส1). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-สรุปผลที่สำคัญ_Q1.pdf
เอกรินทร์ อัชชะกุลวิสุทธิ์. (2557, พฤศจิกายน – ธันวาคม). การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015. นิตยสาร สสวท. 43 (191). 37-41.