ความเครียดและการจัดการความเครียดจากการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์โควิด-19 ของนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ พลรักดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความเครียด, การจัดการความเครียด, นิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) ศึกษาวิธีการจัดการความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 2 - 6 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 61 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบประเมินความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test 20 ; SPST–20) และ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความเครียดและการจัดการความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 54.67 โดยนิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในระดับสูง รองลงมา คือ ระดับรุนแรง และระดับปานกลาง ตามลำดับ และ 2. นิสิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวิธีการจัดการความเครียดจากการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 โดยการทำกิจกรรมที่ชอบจะผ่อนคลายความเครียดลงได้ เมื่อไม่สามารถจัดการความเครียดด้วยตนเองได้ นิสิตจะนำปัญหาเหล่านั้นมาปรึกษากับบุคคลอื่นที่นิสิตไว้วางใจ อาทิ ครอบครัว เพื่อนสนิท รุ่นพี่รุ่นน้อง อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ รวมถึงหาแหล่งช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต, สายด่วนสุขภาพจิต

References

กัณญาณัฐ เพ็ชรผ่อง และคณะ. (2561). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศีกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปี ที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุราษฏร์ธานี (เอกสารงานวิจัย). สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมชนนี.

ชฎาภา ประเสริฐทรง, จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา และพรชนา กลัดแก้ว (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 14-28.

เทอดพงษ์ แตงไทย, เพ็ญนภา กุลนภาดล และประชา อินัง. (2564). ผลการปรึกษาทฤษฎีเล่าเรื่องต่อความเครียดเชิงวิชาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 54-63.

นิศากร โพธิมาศ, สุนทรีภรณ์ มีพริ้ง และมาลินี อยู่ในเย็น. (2564). ความสัมพันธระหว่างความเครียดในการเรียนออนไลน์ ความยืดหยุ่นทางอารมณ์ และการเผชิญหน้าความเครียดของนิสิตพยาบาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3), 142-154.

พรรณภา เรืองกิจ, สนธยา มณีรัตน์ และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(1), 1208-1224.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวัดผลการศึกษา, 38(103), 227-236.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2564). ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่องมาตรการและแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 22. 29 ตุลาคม 2564.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สามารถ อัยกร. (2559). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 21-30.

สืบตระกูล ตันตลานุกูล และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 81-91.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

Lazarus, R.S., & Folkman, S. (1984). Psychological Stress and The Coping Process. New York: Springer Publishing Company.

Moawad, R. A. (2020). Online learning during the COVID-1 9 pandemic and academic stress in university students. Revista Romaneasca Pentru Educatie Multidimensionala, 12(1), 100-107.

O'Byrne, L., Gavin, B., Adamis, D., Lim, Y. X., & McNicholas, F. (2021). Levels of stress in medical students due to COVID-19. Journal of Medical Ethics, 47(6), 383-388.

Selye, H. (1983). Selye’s guide to stress research. New York: Van Northland Reinhold.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30