ผลการปรับตัวทางสังคมที่่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรีไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีราพร บุญนอก วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ชุติมา วัฒนะคีรี วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฏ ณ สุนทร วิทยาลัยนวัตกรรมทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, การปรับตัวทางสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์  2) เพื่อศึกษาระดับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2  ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เลือกจาก 6 ห้องเรียนมา 2 ห้องเรียน แล้วนำกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบสตอรี่ไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือ 3) แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test Independent)

 

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ มีการปรับตัวทางสังคม หลังเรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 มีค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.89  2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีการปรับตัวทางสังคม หลังเรียนอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 มีค่าเบี่ยงเบนเท่ากับ 0.71 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีการปรับตัวทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และคณะ. (2560). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ Learning Together ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจ. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(2), 1-14.

กรรณิการ์ แสนสุภาและคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(2), 83-97.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. https://www.gotoknow.org/posts/209790

นันทนพ เข็มเพชร. (2561). ความสามารถในการปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 186-199.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.

รมณี ไชยคำมิ่ง. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบ Story line.

http:// fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/126603/Chaikhamming%20Rommanee.pdf

วิจารณ์ พานิช. (2559). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สาธร ใจตรง (2548). การศึกษาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนวัยรุ่น. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Gui_Cou_Psy/Satorn_J.pdf

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว. โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ.ฟ้าเมืองไทย).

อรทัย มูลคำ และ สุวิทย์ มูลคำ. (2544). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. ภาพพิมพ์.

อรอนงค์ นิยมธรรม และคณะ. (2560). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 273-285.

อริย์ธัช ฉ่ำมณี (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสติรี่ไลน์โดยประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 301-313.

Andrew Pollard & Sarah Tann. (1996). Reflective teaching in the primary school (3nd ed.). Cassell.

Bell Steve. & Fifield, Kathy. (1996). An Introduction to the Storyline Method. Jordanhill College.

Paisan Suwannoi. (2017). Research Based Learning: Research into Research Universities. Journal of Education Khonkaen University, 29(3), 16-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30