แรงจูงใจ ทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 310 คน ทำการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงจูงใจในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 86.77 มีระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงมากที่สุด (ร้อยละ 37.42) รองลงมาคือ ระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงต่ำ (ร้อยละ 36.45) และระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบอันตราย (ร้อยละ 26.13) แรงจูงใจและทัศนคติในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางสร้างมาตรการป้องกัน ลด ละ เลิก พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์
References
กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ และ เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราของผู้ติดสุราที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(1), 85-97.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ. (2564). การพัฒนาระบบป้องกันการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน.แผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา.
โชติระวี อินจำปา และบุณยดา วงค์พิมล. (2565). ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง และแรงจูงใจที่ส่งผลให้เกิดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ของประชากรในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(1), 64-76.
ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม, กนกพร หมู่พยัคฆ์ และนันทวัน สุวรรณรูป. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 37(3), 25-36.
นธภร วิโสรัมย์, ณิชาภัทร มณีพันธ์, วรนาถ พรหมศวร, และ ภิญญดา สมดี. (2565). ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มไม่ขับ ของวัยรุ่นชาย ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 12(2), 81-96.
นงนุช ใจชื่น. (2556). การรับรู้ การจดจำ การครอบครอง และการให้ความหมายที่มีต่อสิ่งของที่มีตราสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาสารคาม.
บุญใจ ศีรสถิตย์นรากูล. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัทยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ปัญจพร ศรีชนาพันธ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง และแรงจูงใจที่ส่งผลให้เกิดการดื่มเครื่องดื่มผสม แอลกอฮอล์ของประชากรในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 26-41.
พนิทกา ศรีคัฒนพรหม. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพชรรัตน์ กิจสน. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์และคุณภาพชีวิตของประชาชน จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 275-287.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2565). เอกสารวิชาการแบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย. https://cas.or.th/wp-content/uploads/2022/05/FF-chapter-1-For-Print.pdf
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย,สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2556). แบบคัดกรองประสบการณ์การดื่มสุราสูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด คู่มือใช้ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ (พิมพ์ครั้งที่ 2). แผนงานการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planning: An education and environmental approach. Mayfield Publishing Company.
Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). Prentic-Hall.
Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). Harper and Row.