การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิจิตรา กุลจรัสอนันต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สรัญญา จันทร์ชูสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การพัฒนาตัวบ่งชี้, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำมาตรวจสอบเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการภูมิภาคตะวันตก จำนวน 567 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน และสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน มี 11 ตัวบ่งชี้      2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก gif.latex?x^{2} = 28.080,  df = 26 , p = .354, CFI = 1.000, TLI = 0.999, RMSEA = 0.012, SRMR = 0.015 และ gif.latex?x^{2}/df = 1.08

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.

กฤติญดา อ่อนคล้าย. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลางสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ดาลุน บุญเพิ่ม. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้การส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

นภัทร ธัญญวณิชกุล. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 233-244.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย [วิทยานิพน์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

วิจารณ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

ศิริรัตน โกศล. (2559). การพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว. (2558). การวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเครื่องมือวัดทางจิตสังคม และพฤติกรรม. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2561 (IMD2018). ทเวนตี้วันเซ็นจูรี่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชน

การเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู.

Hair, J.F., Black, W. C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis (10th ed.). Pearson Education Inc.

Hord, S. M. (2003). Learning together, leading together: Changing schools through professional learning communities. Teachers College Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30