การเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ด้วยการปรึกษารูปแบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ ศรีสุข คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา

คำสำคัญ:

การปรึกษารูปแบบผสมผสาน, การปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น, สัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลของการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ในระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง และ 2) เปรียบเทียบผลของการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คู่สมรสที่อาศัยอยู่ในจังหวัดระยอง ที่มีการจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ 1 – 10 ปี สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คู่ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คู่ กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้ารับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่า คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎี เน้นทางออกระยะสั้น มีคะแนนสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ สูงกว่าก่อนได้รับการได้รับปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ พบว่า สัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่หลังได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น สูงกว่าสัมพันธภาพคู่สมรสในชีวิตวิถีใหม่ที่ไม่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังเสร็จสิ้นการปรึกษา เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ผู้วิจัยสัมภาษณ์คู่สมรสในกลุ่มทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผลการสัมภาษณ์พบว่า คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษารูปแบบผสมผสานทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นมีความเข้าใจกัน มีการปรับอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเองนำไปสู่การหาทางออกที่เหมาะสมในชีวิตสมรสภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรุณาภรณ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ สัมพันธภาพของคู่สมรสกับการปรับตัวของสตรีวัยหมดประจำเดือน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

กรมการปกครอง. (2565). สถิติทะเบียนการหย่า. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry/new/stat-gen/static.php?divorce

กรมการปกครอง. (2565). สถิติทะเบียนสมรส. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry/new/stat-gen/static.php?marry

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 รายจังหวัด. https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

กวินทิพย์ จันทนิยม, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และ ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์. (2563). ผลการปรึกษาออนไลน์รายบุคคลทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบริษัท. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 114-126.

ชมภูนุช ครองขจรสุข, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และ ประชา อินัง. (2563). ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อภาวะซมึเศร้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(101), 146-158.

ปวีณภัศร์ มิ่งขวัญธนรัชต์, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และ ดลดาว ปูรณานนท์. (2561). ผลการปรึกษาคู่สมรสทฤษฎีกลยุทธ์ต่อความมั่นคงในชีวิตสมรส. วารสารการวัดผลการศึกษา, 35(98), 68 - 80.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2563). การปรึกษาครอบครัว. บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

Corey, G. (2008). Theory and practice of group counseling Brooks/ Cole: Belmont, CA.

Corey, G. (2013). Theory and practice of group counseling Brooks/ Cole: Belmont, CA.

Maiti, T. (2020). Marital distress during COVID-19 pandemic and lockdown: a brief narrative. The International Journal of Indian Psychology. https://www.researchgate.net/publication/343686139_Marital_distress_during_COVID-19_pandemic_and_lockdown_a_brief_narrative.

Spanier (1976). Measuring dyadic adjustment: New Scales for assessing the quality of marriage and similar dyads. Journal of Marrige and The family, 38, 15-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30