การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โดยใช้รูปแบบซิปป์: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ประสิทธิ์ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อุไร จักษ์ตรีมงคล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ตระกูลวรกุล สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM, รูปแบบซิปป์, การประเมินสภาพแวดล้อม, การประเมินปัจจัยนำเข้า, การประเมินกระบวนการ, การประเมินผลผลิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ใช้รูปแบบซิปป์: กรณีศึกษาโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 270 คน ผู้บริหารโครงการ ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และหัวหน้างานวัดผลและประเมินผล จำนวน 4 คน และอาจารย์ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ของอาจารย์และผู้บริหารโครงการ ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.61) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.39 ) ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.58 ) และด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.51 ) 2) ผลประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ของผู้เรียน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมของการประเมินปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.50 ) ด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมของการประเมินกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.54 ) และด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมของการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.53 ) 3) ผลประเมินตามตัวชี้วัดการประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM พบว่า ตัวชี้วัดการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ STEAM ประกอบด้วย 4 ตัว ได้แก่ ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า ความเหมาะสมด้านกระบวนการ และความเหมาะสมด้านผลผลิต ทุกตัวชี้วัดมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.50 คะแนนขึ้นไป มีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

References

ครูประถมดอทคอม. (2561). Learning by doing การปฏิบัติ หรือ การลงมือทำ. https://www.krupatom.com/education_1637/1637-2/

เจนจิรา สันติไพบูลย์. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วมกับการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการและความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. โอเดียนสโตร.

นพดล กองศิลป์ (2561). "การพัฒนาหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อการเรียนรู้สู่สากลตามแนวทาง STEAM." วารสารวิชาการอุตสาหกรรมการศึกษา, 12(2), 46-57.

บุษกร วิเศษสมบัติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 215-226.

พล เหลืองรังสี และ สายฝน วิบูลรังสรรค์. (2563). แนวทางการประเมินโครงการในโรงเรียน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102), 118-125.

ภัทราภรณ์ กาญจนาภรณ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินโครงการศึกษาอบรมต่อเนื่องสำหรับพยาบาลวิชาชีพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ภานุวิชญ์ ทองยิ้ม. (2562). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานโครงการตำรวจประสานโรงเรียน (1 ตำรวจ 1 โรงเรียน) และโครงการจัดระเบียบสังคมรอบสถาบันการศึกษา (Campus Safety Zone). กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด.

มีชัย เอี่ยมจินดา. (2562). การวิจัยและประเมินโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ ายประถม). (2563). STEAM EDUCATION. http://prathom.swu.ac.th/m4-6center.html ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฏีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์แห่งจุฬากรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2558). STEM TO STEAM PLUS STREAM AND STEMM ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย Stem to Steam Plus Stream and Stemm in the Learning Provision for Early Childhood Development. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 5-16.

สุญาดา เฮงชัยโย. (2564). รายงานการประเมินผลโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 153-164.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2562). “STEAM Education : นวัตกรรมการศึกษาบูรณาการสู่การเรียนรู้”. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(1), 1-16.

Baek, Y. (2011). STEAM Education in Korea. Journal of Learner-Centered Curriculum and Instruction, 11(14), 149-171.

Kim, Y., & Park, N. (2012). The Effect of STEAM Education on Elementary School Student Creativity Improvement. Springer-Verlag Berlin Heidelberg, 115-121.

Kolodner, J., Crismond, D., Fasse, B. B., Gray, J. T., Holbrook, J., Ryan, M., & Puntambekar, S.,. (2003). Problem-based learning meets case-based reasoning in the middle-school science classroom: Putting a learning-by-design curriculum into practice. Journal of Learning Sciences, 12(14), 495–547.

Stufflebeam, Daniel L. and Guili Zhang. (2017). The CIPP Evaluation Model: How to Evaluate for Improvement and Accountability. The Guilford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30