การประเมินกลยุทธ์การนำตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs) ไปปฏิบัติในงานสาธารณสุขของจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สมภพ ห่วงทอง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เรืองเดช ศิริกิจ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปิยพงษ์ คล้ายคลึง สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การนำตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs), ลักษณะของกลยุทธ์, องค์ประกอบของกลยุทธ์, แนวคิดขององค์กร, การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการนำกลยุทธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs) ไปปฏิบัติในงานสาธารณสุข ของจังหวัดราชบุรี โดยโดยเป็นการประเมินกลยุทธ์ของนโยบายการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์(OKRs) ซึ่งครอบคลุมการประเมินกลยุทธ์ทั้งตัวกลยุทธ์ กระบวนการ และผลลัพธ์ของนโยบาย ในการประเมินครั้งนี้เน้นประเมินการนำนโยบายการประเมินงานสาธารณสุขไปปฏิบัติ ตามกรอบการประเมินของ Patton and Patrizi (2010) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ลักษณะของกลยุทธ์ องค์ประกอบของกลยุทธ์  แนวคิดขององค์กร และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารของหน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดราชบุรี จำนวน 21 คน หัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี จำนวน 8 คน และผู้รับผิดชอบงานยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 21 คน รวม 50 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินเกี่ยวกับลักษณะของกลยุทธ์ แบบประเมินเกี่ยวกับองค์ประกอบของกลยุทธ์ แบบตรวจสอบรายการสำหรับแนวคิดขององค์กร และแบบสอบถามเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ลักษณะของกลยุทธ์ พบว่า ภาพรวมลักษณะของกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยที่ ตัวชี้วัดความน่าสนใจ และความมีประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.90 รองลงมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ได้แก่ ความชัดเจน ความเป็นรูปธรรม ความสามารถบรรลุผลได้ การสื่อความหมายได้ และความสามารถประเมินตรวจสอบได้ และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 คือ ความสมเหตุสมผลน่าเชื่อถือ 2) องค์ประกอบของกลยุทธ์ พบว่า ภาพรวมองค์ประกอบของกลยุทธ์อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีผลประเมินอยู่ในระดับดี โดยที่ตัวชี้วัดความสัมพันธ์องค์ประกอบของกลยุทธ์อยู่บนฐานของการคิดเชิงระบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.60 รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 3)  องค์ประกอบแนวคิดขององค์กร พบว่า ภาพรวมผลประเมินแนวคิดขององค์กรอยู่ในระดับพอใช้ เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ส่วนใหญ่ตัวชี้วัดอยู่ในระดับดี ได้แก่ การแสดงหลักฐานการพัฒนากลยุทธ์ การวางแผนกลยุทธ์บนพื้นฐานแนวคิดองค์กร การสร้างความ ตกลงร่วมกันเกี่ยวกับกลยุทธ์ การดำเนินงานขององค์กรตามแนวทางของกลยุทธ์ ความสอดคล้องของพันธกิจขององค์กร 4) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ พบว่า ภาพรวมผลประเมินการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดการยอมรับนโยบายของผู้ปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.53 รองลงมา ได้แก่ การแสดงหลักฐานของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การจัดสรรทรัพยากรขององค์กร และความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ของผู้ปฏิบัติ

References

Abraham, Stanley C. (2006). Strategic Planning a Practical Guide for Competitive Success. Thomson South-Western.

Adams, J. & Dickinson, P. (2010). Evaluation Training to Build Capability in the Community and Public Health Workforce. American Journal of Evaluation, 31, 421-433.

Astbury, B. & Leeuw, L. F. (2010). Unpacking Black Boxes: Mechanisms and Theory Building in Evaluation. American Journal of Evaluation, 31, 363-381.

Anonymk. (2561). KPIs คือไม้เรียว “OKRs คือไม้กายสิทธิ์”: รู้จักเครื่องมือพัฒนาที่ทุกองค์กรหัวก้าวหน้าต้องใช้.

https://www. unlockmen.com/hamilton-heart-cinema.

Bamberg, S. (2006). Is a Residential Relocation a Good Opportunity to Change People’s Travel Behavior? Results From a Theory-Driven Intervention Study. Environment and Behavior, 38, 820-840.

Fred R.David, (2012).Fred R. David, Strategic Management: Concepts and Cases (Edition #6), Prentice Hall. Charles W.L. Hill.

Mintzberg, Henry; Ahlstrand, B. and Lampel, J. (1998). Strategy Safari: A Guided Tour Through The Wilds of Strategic Management. The Free Press.

Niven, P.R. and Lamorte, B. (2016). Objectives and Key results: Driving Focus, Alignment, and Engagement with OKRSs. John Wiley & Sons.

Olson, A. K., & Simerson, B. K. (2015). Leading with Strategic Thinking: Four Ways Effective Leaders Gain Insight, Drive Changeand Get Results. Wiley.

Patton, M. Q., & Patrizi, P. A. (2010). Strategy as the focus for evaluation. In P. A. Patrizi & M. Q. Patton (Eds.), Evaluating strategy. New Direct for Evaluation, 128, 5-28.

Patrizi, P. A. (2010). Strategy: Evaluation processes and methods. In P. A. Patrizi & M. Q. Patton (Eds.), Evaluating strategy. New Directions for Evaluation, 128, 87-102.

Patton, M. Q. (2008). Utilization-focused evaluation (4th ed.). CA: Sage.

Schermerhorn, J. R. (2002). Management (7th ed.). John Wiley & Sons.

Savaris. (2562). OKRs in Action! วางเป้าหมายและกำหนดทิศทางองค์กรด้วย OKRs อย่างไรให้ได้ผล.

https://magnetolabs.com/blog/how-to-make-okrs-work-in-company/

Wootton, Simon and Horne Terry. (2001). Strategic Thinking A Step-by-step approach to strategy (2nd ed.). Simon Wootton and Terry Horne.

Wodtke, C. (2016). Introduction to OKRs. O’Reilly Media, Inc.

Zand, D. E. (2010). Drucker’s strategic thinking process: Three key techniques. Strategy & Leadership, 38(3), 23-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30