หน้าที่และความหมายของคำว่า “แล้ว” และ “ละ” ที่สืบเนื่องกันในสมัยปัจจุบัน

Main Article Content

ภัสร์วริญญ์ เอี่ยมสอาด
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ
เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และความหมายของคำว่า “ละ” ที่สัมพันธ์กับคำว่า “แล้ว” ในสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2489-2564) ตามการศึกษาของมิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์ (2546) ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาษาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นระยะที่คำว่า “แล้ว” กร่อนเสียงไปเป็น “ละ” แต่นำเสนอผลการวิจัยในสมัยปัจจุบัน เนื่องจากเป็นระยะที่ “ละ” มีผลิตภาวะสูงและมีโครงสร้างซับซ้อน ผลการวิจัยพบว่า ด้านหน้าที่ “ละ” พัฒนามาจากคำว่า “แล้ว” มีหน้าที่ 4 หน้าที่ ได้แก่ คำเชื่อมอนุพากย์ วลีตายตัว คำช่วยหลังกริยา และคำลงท้าย ด้านความหมาย พบทั้งสิ้น
8 ความหมาย ซึ่งเป็นความหมายทางไวยากรณ์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความหมายที่ปรากฏในสมัยปัจจุบัน ได้แก่ 1) ความหมายแสดงการเชื่อมความ/เสริมความ/บอกลำดับก่อนหลัง 2) ความหมายแสดงการเน้น 3) ความหมายแสดงการเริ่มต้น 4) ความหมายแสดงการยุติ 5) ความหมายแสดงเหตุการณ์ที่อ้างถึงกำลังดำเนินอยู่ ณ เวลากล่าวถ้อย 6) ความหมายแสดงเหตุการณ์ที่อ้างถึงเกิดและจบในเวลากล่าวถ้อยหรือเกิดและจบในอนาคตอันใกล้ 7) ความหมายแสดงการบอกเล่า และ 8) ความหมายแสดงการชี้นำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรรมสัมปาทิก. 2436. วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ ร.ศ. ๑๑๒-๑๑๓. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550. คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก http://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc/.

คเชนทร์ ตัญศิริ. 2554. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการณ์ลักษณะทางไวยากรณ์และการณ์ลักษณะประจำคำ: การศึกษาแบบอิงคลังข้อมูลภาษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. 2480. บทเจรจาละครอิเหนา. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://vajirayana.org.

นววรรณ พันธุเมธา. 2558. ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นายา (นามแฝง). 2554. รำเพยดอกสุดท้าย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

บุญเหลือ เทพสุวรรณ, หม่อมหลวง. 2520. ฉากหนึ่งในชีวิต. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

พงศกร (นามแฝง). 2554. กี่เพ้า. กรุงเทพฯ: กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง.

มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์. 2546. การศึกษาเชิงประวัติของคำว่า แล้ว อยู่ อยู่แล้ว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รพีพรรณ ลิ้มมณี. 2564. ชาวบ้านผู้บอกภาษา ต. ในเมือง อ.เมือง จ. หนองคาย, สัมภาษณ์, 18 ธันวาคม 2564.

วรรณวรรธน์ (นามแฝง). 2558. ฤกษ์สังหาร. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. 2538. โครงสร้างของภาษาไทย THE STRUCTURE OF THAIกรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ว. วินิจฉัยกุล. 2531. มณีร้าว. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

สุรีเนตร จรัสจรุงเกียรติ. 2555. พัฒนาการของคำว่า "เป็น" ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2553. ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โฮเซ ริซัล. 2548. อันล่วงละเมิดมิได้. (แปลโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ภาษาต่างประเทศ

Comrie, B. 1976. Aspect. Cambridge: Cambridge University Press.

Diller, A. 2001. Grammaticalization and Tai Syntactic Change. In K. Tingsabadh (Ed.), Essays in Tai linguistics, (pp. 139-142). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Matisoff, J. A. 1991. Areal and Universal Dimension of Grammatization in Lahu. In E.C. Traugott (Ed.), Approaches to Grammaticalization, (pp. 383-454). Amsterdam: John Benjamins Publishing.