อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสที่นำไปสู่คำเรียกเสียงในภาษาไทย

Main Article Content

ศุภวิชญ์ ยอดแก้ว
ณัฐพงษ์ ล้อไพบูลย์ทรัพย์
เลิศณรงค์ อายินดี
สุภัชชา สิทธิสุทธิ์
ทักษพร มวลทอง
ณัฐชา อัศวเสนา
พริมา ณ ป้อมเพ็ชร์
อภิษฎา โพธิ์เจริญ
วิภาวนี เอกวณิชสกุล
ชุติกาญจน์ อ้นประวัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์ประสาทสัมผัสที่นำไปสู่คำเรียกเสียงในภาษาไทย และเพื่ออธิบายระบบมโนทัศน์หรือแนวคิด รวมไปถึงวัฒนธรรมของคนไทยผ่านการใช้ รูปภาษาอุปลักษณ์ประสาทสัมผัส อีกทั้งนำผลการศึกษาที่ได้มาเปรียบเทียบกับอุปลักษณ์ประสาทสัมผัสของคำเรียกเสียงในภาษาอื่น ๆ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากงานเขียนทางวิชาการ (Academic), งานเขียนกึ่งวิชาการ (Non-Academic), เรื่องแต่ง (Fiction), หนังสือพิมพ์ (Newspaper) และเบ็ดเตล็ด (Miscellany) ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) ของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสที่ถูกนำไปใช้กับคำเรียกเสียงในภาษาไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 64 ตัวอย่าง ซึ่งอยู่ในประสาทสัมผัส ได้แก่ การมองเห็น, การรับรส และการสัมผัส ทั้งนี้ ประสาทสัมผัสที่นำมาใช้กับคำเรียกเสียงในภาษาไทยมากที่สุดคือ การมองเห็น และประสาทสัมผัสที่นำมาใช้กับคำเรียกเสียงในภาษาไทยน้อยที่สุดคือ การรับรส ทั้งนี้ ไม่พบถ้อยคำอุปลักษณ์ประสาทสัมผัสการได้กลิ่น นอกจากนี้ อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสยังสะท้อนให้เห็นถึงระบบแนวคิดและมโนทัศน์ของคนไทย สามารถอธิบายให้เห็นค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต อีกทั้ง อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสที่ใช้กับคำเรียกเสียงในภาษาอื่น ๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนก็มีลักษณะร่วมบางประการกับภาษาไทยอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550. โครงการคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565, จาก www.arts.chula.ac.th.

นันทนา วงษ์ไทย. 2552. อุปลักษณ์ประสาทสัมผัสในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประจิตร ป้อมอรินทร์. 2555. วัฒนธรรมการกินของจีน. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565, จาก https://www.arsomsiam.com.

พบแพทย์. 2559. อากาศหนาว ผลกระทบต่อสุขภาพ. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://www.pobpad.com/.

ผาสุข อินทราวุธ. 2548. บางเบาดุจเส้นไหม สายใยแดนมังกร. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://mgronline.com/live/detail/9480000148500.

เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา. 2555. การขยายหน้าที่และความหมายของคำว่า “ตัว” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง พ.ศ. 2551. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2556. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. 2562. คนไทยติดหวาน กินน้ำตาลเฉลี่ยวันละ 25 ช้อนชา. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2550. ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาต่างประเทศ

Carmen. M. 1993. SYNAESTHETIC METAPHORS IN ENGLISH. Retrieved May 2, 2022, from SYNAESTHETIC METAPHORS IN ENGLISH (researchgate.net).

Chomsky, N. 1957. Syntactic Structures. The Hague: Mouton.

Retrieved May 2, 2022, from http://psyche.cs.monash.edu.au/v2/ psyche-2-32-day.html.

Humboldt, w. von. 1988. On Language: The Diversity of Human Language structure and its influence on the Mental Development of Mankind. Cambridge: Cambridge University Press.

Kalat, J. W. 1990. Introduction to Psychology. Wadsworth: Belmont.

Kövecses, Z. 2002. Metaphor: A Practical Introduction. Oxford: Oxford University Press.

Lakoff, G. & Johnson, M. 1976. Philosophy in the Flesh. New York, NY: Basic Books.

Lakoff, G., and Johnson, M. 1980. Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.

Mainländer, P. 1936. The Philosophy of Redemption. New York: Oxford University.

NECTEC's. 2552. NECTEC's LEXiTRON Dictionary. Retrieved March 25, 2022, from https://lexitron.nectec.or.th/.

Ullmann, S. 1957. The Principles of Semantics. Oxford: Basil Blackwell.

Whorf, B. L. 1956. Science and linguistics. Cambridge: M.L.T. Press.

Yu, N. 2003. “Synesthetic metaphor: A cognitive perspective.” Journal of Literary Semantics. (32) 1: 19-34