กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมแสดงการแนะนำ : กรณีศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุที่ให้คำแนะนำแก่คนในครอบครัว

Main Article Content

ณัฐกิจ ศศิธรฉาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมแสดงการแนะนำ : กรณีศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุที่ให้คำแนะนำแก่คนในครอบครัว” มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในการแนะนำของผู้สูงอายุต่อคนในครอบครัว โดยได้เก็บข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม กำหนดสถานการณ์ให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงการแนะนำผ่านการใช้ภาษา รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มประชากรตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 25 คน ผลการศึกษาพบว่ากลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมแสดงการแนะนำที่ผู้สูงอายุใช้ในการแนะนำแก่คนในครอบครัวมากที่สุด ได้แก่ กลวิธีการแนะนำโดยการสั่ง รองลงมา ได้แก่ กลวิธีการแนะนำโดยการเตือน กลวิธีการแนะนำโดยการถาม กลวิธีการแนะนำโดยการตำหนิ กลวิธีการแนะนำโดยการเสนอทางเลือกตามลำดับ โดยกลวิธีที่พบน้อยที่สุดคือการแนะนำโดยการขู่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา อังคพณิชกิจ. 2561. การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.

ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา. 2541. วัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาศรี สีหอำไพ. 2550. วัฒนธรรมทางภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา.

ปวีพัสตร์ ทัศนาบูรณ์. 2562. ความอาวุโสกับกลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมการแย้ง การแสดงความไม่พอใจ และการแนะนำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2560. Thai-English Dictionary. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. 2562. ระบบคำภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิศเรศ ดลเพ็ญ. 2544. การศึกษาการให้คำแนะนำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.