ปริจเฉทการแนะนำอาหารและกลวิธีการใช้ภาษาในเฟซบุ๊กเพจ “ชีวิตติดรีวิว”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างปริจเฉทการแนะนำอาหารและรูปแบบของกลวิธีการใช้ภาษาในเพจเฟซบุ๊ก "ชีวิตติดรีวิว" โดยมีระยะเวลาการเก็บข้อมูล 1 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 54 ปริจเฉท ผลการศึกษาด้านโครงสร้างของปริจเฉทในเฟซบุ๊กเพจ “ชีวิตติดรีวิว” พบว่าโครงสร้างปริจเฉทแนะนำอาหารประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนต้นของปริจเฉทแนะนำอาหาร ส่วนเนื้อหาของปริจเฉทแนะนำอาหาร และส่วนท้ายของปริจเฉทแนะนำอาหาร และผลการศึกษาเรื่องกลวิธีการใช้ภาษาในเฟซบุ๊กเพจ "ชีวิตติดรีวิว" พบว่ามีกลวิธีการใช้ภาษาทั้งสิ้น 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายเชิงบวก ซึ่งประกอบไปด้วยการใช้คำเรียกรสชาติที่มีความหมายเชิงบวก การใช้คำเรียกผิวสัมผัสเชิงบวก การใช้คำเรียกกลิ่นเชิงบวก และการใช้คำบอกปริมาณเชิงบวก ต่อมาคือการอ้างถึงซึ่งประกอบไปด้วยการอ้างถึงบุคคลที่นำเสนองานเขียนแนะนำอาหาร และการอ้างถึงบุคคลที่อ่านงานเขียนแนะนำอาหาร ต่อมาคือการใช้คำเลียนเสียง การใช้คำภาษาอังกฤษ และสุดท้ายคือการใช้ถ้อยคำที่มีการติดเครื่องหมายแฮชแท็ก (#)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
กนกพร ตะกิ่มนอก, กัลยากร คมขำหนัก, นภัทร อังกูรสินธนา, ภิสิทธิ์ ดำมา, และ อิสริยา พะโยมรัตน์. 2562. “ชีวิตติดรีวิว”: กลวิธีทางภาษาในการโน้มน้าวใจในเพจอาหาร. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565, จาก http://human.crru.ac.th/e-journal/doweload/
จักริน ฉัตรไชยพฤกษ์ และ เขมฤทัย บุญวรรณ. 2562. โครงสร้างปริจเฉท และกลวิธีทางภาษาในการสนทนาระหว่างคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันในรายการ “ต่อปาก
ต่อคำ ติดไฟแดง. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565, จาก file:///C:/Users/User/Downloads/panida-noo,+%7B$userGroup%7D,+pv2n2Khemruthai_4.
pdf.
จุไรรัตน์ รัตติโชต, สุพัตรา อินทนะ และ เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. 2557. กลวิธีการกล่าวขัดแย้งตามปัจจัยเพศ อายุ และการศึกษา: แนววัจนปฏิบัติศาสตร์.
ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565, จาก file:///C:/Users/User/Downloads/lakkana-c,+Journal+manager,+05_%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C.pdf.
ปวิรศา ประดิษฐศร. 2560. ปริเฉจการเล่าข่าวในรายการโทรทัศน์ “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์”. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://
kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/12175/1/420381.pdf.
สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. 2564. ปริจเฉทข่าวบันเทิงในเฟซบุ๊กเพจ “ใต้เตียงดารา”:การศึกษาจากมุมมองปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. ค้นเมื่อ
พฤษภาคม 2565, จาก https://so04.tcithaijo.org/index.php/THlanglit/article/view/249085/171392