มโนทัศน์เรื่องสิทธิตามธรรมชาติในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ธีรัตม์ แสงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “มโนทัศน์เรื่องสิทธิตามธรรมชาติในพระพุทธศาสนา” เพื่อเสนอมุมมองที่มีต่อการใช้สิทธิเสรีภาพและการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ สิทธิตามธรรมชาติ หมายถึง สิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งใครก็มิอาจพรากสิทธินี้ไปได้ ได้แก่ อำนาจอันชอบธรรมที่มีมาพร้อมกับการเกิด ไม่สามารถจำหน่ายถ่ายโอนให้แก่กันได้ สิทธิตามธรรมชาตินี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ และพืช คือ สิทธิของมนุษย์ สิทธิของสัตว์ และสิทธิของพืช สิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมมีสิทธิ ขั้นพื้นฐานคือสิทธิที่จะดำรงอยู่ในโลกใบนี้อย่างอิสระและปกติสุขโดยไม่ถูกใครเบียดเบียน มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพของตนก็จริง แต่การใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปในทางที่ไม่ถูกต้องหรือไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ก็ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคมเช่นกัน พระพุทธศาสนายืนยันถึงการมีอยู่ของสิทธิตามธรรมชาติของสรรพสิ่ง โดยมองว่า สรรพสิ่งหรือตัวธรรมชาติเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามกฎธรรมชาติคือเป็นไปตามวิถีแห่งตน มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน คือสิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิในการกระทำ มนุษย์มีจิตวิญญาณและมีเจตจำนงเสรีในการเลือกกระทำกรรมและต้องรับผิดชอบต่อกรรมที่ตัวเองกระทำ กฎแห่งกรรมย่อมให้ผลอย่างยุติธรรมและแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน พระพุทธศาสนาเน้นย้ำว่า มนุษย์ควรใช้สิทธิเสรีภาพของตนในการเลือกกระทำแต่กรรมดี คือสิ่งที่ถูกต้องและดีงาม โดยไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเพื่อการดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าของตนและการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขของสังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. 2551. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf.

ประเวศ อินทองปาน. 2559. พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2551. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). 2551. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. 2501. ปรมัตถโชติกะ หลักสูตรจูฬอาภิธัมมิกะตรี จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลวิทยา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมยศ เชื้อไทย. 2553. นิติปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สมภาร พรมทา. 2539. ปรัชญาสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.