การต่อรองราคาสินค้า: กรณีศึกษาปัจจัยความแตกต่างระหว่างเพศชาย หญิง และ LGBTQ+
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการต่อรองราคาสินค้า: กรณีศึกษาปัจจัยความแตกต่างระหว่าง เพศชาย หญิง และ LGBTQ+ โดยผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google forms) เรื่องการต่อรองราคาสินค้าฯ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มตามความสะดวกของผู้ตอบแบบสอบถามเพศละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ผลการศึกษาพบว่า เพศชายใช้กลวิธีทางภาษาในการต่อรองราคาสินค้า 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำแบบตรงไปตรงมา การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบ และการใช้ถ้อยคำยื่นเงื่อนไข เพศหญิงใช้กลวิธีทางภาษาในการต่อรองราคาสินค้า 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำยื่นเงื่อนไข การใช้คำขอโทษ การใช้ถ้อยคำที่แสดงความเกรงใจ การใช้คำเรียกญาติ และการกล่าวซ้ำ ๆ และ LGBTQ+ ใช้กลวิธีทางภาษาในการต่อรองราคาสินค้า 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำแบบตรงไปตรงมา การระบุตัวเลข การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบ การใช้คำเรียกญาติ การใช้ถ้อยคำที่แสดงความเป็นพวกเดียวกัน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เพศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษา ทำให้ลักษณะภาษาที่ใช้การต่อรองราคาสินค้าของทั้งสามเพศมีความเหมือนและแตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กรุงเทพธุรกิจ. 2557. เทคนิคการต่อรองราคา. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/107253.
กฤตยา อาชวนิจกุล. 2554. “เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนไปในสังคมไทย.” ใน สุรีย์พร พันพึ่ง และ มาลี สันภูวรรณ์. (บรรณาธิการ). จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม, 43-66.
กำจร หลุยยะพงศ์. 2539. การวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอภาพของความเป็นชายในโฆษณาเบียร์สิงห์ วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา นันทิวัธวิภา. 2547. ภาษาเกย์ : การศึกษาวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณาภรณ์ สุขมาก. 2547. นิตยสารผู้ชายกับกระบวนการสร้างความเป็นชายแบบ “เมโทรเซ็กส์ชวล”. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า). 2556. สังคมไทยคิดอย่างไรกับเพศที่ 3. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/.
สมชาย สำเนียงงาม. 2552. “คำแทนตัวผู้พูดในบทพูดเดี่ยวของผู้พูดต่างเพศ.” วารสารอักษรศาสตร์. 31 (2): 7-25.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2556. ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Jesus T., Laura S. And Claud S. 2009. “Shopping and Bargaining in Mexico: The Role of Women.” Journal of Applied Business and Economics. 9 (1): 34-40.
Lakoff, R. 1973. “Language and woman's place.” Language in Society. 2 (1): 45-80.
Romaine, S. 1978. “Postvocalic /r/ in Scottish English: Sound Change in Progress? In Peter Trudgill (ed.).” Sociolinguistic Patterns in British English. Baltimore: University Park Press, 144–157.
Sheperd, J. M. 1981. Sociology. St. Paul: West Publishing Co.
Shibamoto, J. S. 1985. Japanese Women's Language. New York: Academic Press Inc