การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า “เที่ยว” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง พ.ศ. 2564

Main Article Content

กิตติพร หลิมวงษ์
ธัญจิรา สุระวิทย์
กชกร ธงชัย
พิชญ์นิษฐา เอี่ยมศรี
เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา
พัชราพรรณ กะตากูล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า “เที่ยว” ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2564 เมื่อประยุกต์ใช้กับการจำแนกหมวดคำตามเกณฑ์ความหมายของนววรรณ พันธุเมธา และกำหนดอรรถลักษณ์เพื่อแยกความหมายย่อย พบว่า “เที่ยว” ปรากฏใช้เป็น 1. คำกริยาแสดงอาการจำนวน 523 คำ จำแนกเป็น (1) คำกริยาแสดงอาการเคลื่อนที่จำนวน 218 คำ (2) คำกริยาแสดงอาการที่บอกความถี่จำนวน 305 คำ 2. คำแยกประเภทจำนวน 19 คำ 3. คำนามสามัญ (คำบอกเวลา) จำนวน 26 คำ และ 4. คำนามสามัญจำนวน 37 คำ โดยพบอรรถลักษณ์ทั้งหมด 9 อรรถลักษณ์ ได้แก่ [+การเคลื่อนที่] [+แสดงลักษณะการเคลื่อนที่ไปโดยรอบพื้นที่] [+จุดหมายที่เป็นนามธรรม] [+จุดหมายที่เป็นรูปธรรม] [+เพื่อความเพลิดเพลิน] [+แสดงความถี่] [+บริบททางศาสนา] [+แสดงช่วงเวลาที่กระทำสิ่งหนึ่ง] และ [+คำที่จำแนกครั้งที่เคลื่อนที่] ซึ่งงานวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงเส้นทางการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า “เที่ยว” จากสมัยสุโขทัยที่หมายถึงแสดงการเคลื่อนที่ และมักปรากฏใช้ในบริบททางศาสนา สู่ความหมายที่แสดงการเคลื่อนที่เพื่อความเพลิดเพลินในปัจจุบัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรองกานต์ รอดพันธ์. 2555. “ถึง” : การศึกษาเชิงประวัติ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี. 2510. ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

งามพรรณ เวชชาชีวะ. 2549. ความสุขของกะทิ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แพรว.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. 2511. เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, จัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนจิตรการโกศล 8 สิงหาคม 2511.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. 2505. จดหมายเหตุลาลูแบร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

นววรรณ พันธุเมธา. 2525. ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

______. 2549. รักภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 ตอนต้น). 2506. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ประชุมพงศาวดาร เล่ม 8 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 และ 8). 2507. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. 2516. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. 2539. “หน่วยที่ 13 ความหมาย” ใน ภาษาไทย 3. หน้า 287-368. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อ้างใน สุนันท์ อัญชลีนุกูล. 2546. ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภคภต เทียมทัน. 2561. พัฒนาการของคำว่า “บน” ในภาษาไทย: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา. 2555. การขยายหน้าที่และความหมายของคำว่า “ตัว” ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง พ.ศ. 2551. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. ม.ป.ป. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (Online). https://dictionary.orst.go.th, 16 กันยายน 2565.

ลิไทย, พระญา. 2506. ไตรภูมิพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. 2526. ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ : วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Wongnai. 2565. 60 ที่เที่ยวเชียงใหม่ อัปเดต 2022 จุดเช็กอินยอดฮิตที่ห้ามพลาด!. (Online). https://www.wongnai.com/trips/travel-at-chiangmai, 17 ธันวาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

Ungerer, F. and Schmid, H.-J. 2006. An Introduction to Cognitive Linguistics. 2nd ed. Harlow: Pearson Longman. (Accessible introduction covering all major areas of cognitive linguistics.).

Evans, V. and Green, M. 2006. Cognitive Linguistics an Introduction. Edinburgh: Edinburgh University.