โครงสร้างภาษากับการสื่อความหมาย: กรณีศึกษาภาษาข่าวในพระราชสำนัก

Main Article Content

พีรภาส คงยศ
เมษา ภมรทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาโครงสร้างภาษาของภาษาข่าวในพระราชสำนักและเพื่อหาความหมายจากโครงสร้างภาษาของภาษาข่าวในพระราชสำนัก ข้อมูลในการวิจัยเก็บข้อมูลจากข่าวในพระราชสำนักที่นำเสนอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แบ่งเป็นเดือนละ 3 เรื่อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 36 เรื่อง จากสำนักข่าวมติชนออนไลน์ ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีไวยากรณ์โครงสร้างและทฤษฎีความชัดใสในภาษาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างภาษาของข่าวในพระราชสำนักมีด้วยกันทั้งสิ้น 6 โครงสร้าง ได้แก่ ประโยคสามัญ ประโยคเน้นกรรม หน่วยสร้างทวิกรรม ประโยคผสม ประโยคซับซ้อน และหน่วยสร้างการิต โดยหน่วยสร้างทวิกรรมมีความถี่มากกว่าโครงสร้างอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อวิเคราะห์ความชัดใสแล้ว พบว่า โครงสร้างภาษาสะท้อนความคิดและโลกแห่งความเป็นจริงเกี่ยวกับราชวงศ์ เรื่องพระเมตตา พระราชอำนาจที่ทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน แนวคิดด้านครอบครัวแบบคู่ครองคนเดียว และลำดับความสำคัญทางชนชั้นในสังคมไทย นอกจากนั้นผลการวิจัยยังยืนยันแนวคิดที่ว่าโครงสร้างภาษาสะท้อนความหมายหรือความคิด อันมาจากประสบการณ์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับการบ่มเพาะจากสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา. 2549. หน่วยสร้างกริยาเรียงต้นแบบในภาษาไทย. ใน อมรา ประสิทธิ์ รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ), หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย, (66-173).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติมา สาตร์ร้าย. 2556. ภาษาข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์แจก M2F. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นนท์ธวัช ไชยวัง. 2560. รูปแบบการพาดหัวข่าวในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทย. ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นิศา ศุขเหมือน. 2557. ภาษาพาดหัวข่าวอาชญากรรมหนังสือพิมพ์ปริมาณและหนังสือพิมพ์คุณภาพ: กรณีศึกษาข่าวฆาตกรรม เอกยุทธ์ อัญชันบุตร. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประไพพรรณ พึ่งฉิม. 2564. องค์ประกอบและประเภทของการสื่อสาร. คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารสำเนา).

พัชนี เชยจรรยา, เมตตา วิวัฒนานุกุล, และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. 2541. แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

มติชน ออนไลน์. 2564. ข่าวในพระราชสำนัก. ค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/court-news.

วิจินตร์ ภานุพงษ์. 2538. โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิภาส โพธิแพทย์. 2564. ภาษาศาสตร์ปริชาน. คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารสำเนา).

วิภาส โพธิแพทย์. 2564. ไวยากรณ์โครงสร้าง. คณะอักษรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารสำเนา).

สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. 2564. “การใช้ภาษาในข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์.” วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 8 (1): 72-89.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2560. พจนานุกรมภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ศศิธร ทัศนัยนา. 2535. การศึกษาลักษณะภาษาของข่าวบันเทิงในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ปี พ.ศ. 2531. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมร มหาลาโภ, พระมหา. 2561. “ทศพิธราชธรรมกับการปกครองของไทยในปัจจุบัน.” วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร 1 (2): 93-105.

อานนท์ อาภาภิรมย์. 2518. สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

ภาษาต่างประเทศ

Britannica, T. 2020. grammar. Retrieved October 21, 2022, from https://www.britannica.com/topic/grammar.

Croft, W.B. 2001. Grammar: Functional Approaches. Retrieved October 21, 2022, from https://shorturl.asia/4dPt2.

Haiman, J. 1985. Natural syntax: iconicity and erosion. Cambridge: CUP.

Mambrol, N. 2018. Structural Linfuistics. Retrieved October 21, 2022, from https://literariness.org/2018/12/22/structural-linguistics/.

Marcus, S. & Calude, A. (2010). “Syntactic iconicity, within and beyond its accepted principles.” Revue Roumaine de Linguistique 4 (1). 19-44.