อุปลักษณ์ที่ปรากฏในบทความของข้อสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ส่วนที่ 1 ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2564

Main Article Content

ชลชาติ ชาติวิทยา
ภูมิปิติ เกษโรจน์
ฌัชฌา รองมาลี
วรรธิดา วีระเกียรติกุล
จักรา สิงโหพล
ปัญญพนต์ จงธรรม์
วิไลศักดิ์ กิ่งคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุปลักษณ์ที่ปรากฏในบทความของข้อสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ส่วนที่ 1 ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2564 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบทความของข้อสอบดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 42 บทความ ผลการศึกษาพบว่ามีการใช้อุปลักษณ์ในข้อความทั้งสิ้น 131 ข้อความ สามารถแบ่งอุปลักษณ์ออกเป็น 9 ประเภทเพื่อเปรียบเทียบเป็นสิ่งอื่น ได้แก่ 1) สภาพสังคม 2) มนุษย์ 3) สภาพเศรษฐกิจ 4) สัตว์ 5) สถานที่ 6) เครื่องใช้ 7) ธรรมชาติ 8) การแข่งขัน และ 9) การศึกษา อุปลักษณ์ที่พบความถี่สูงที่สุดคือ อุปลักษณ์ที่ใช้เปรียบสภาพสังคมเป็นสิ่งอื่น พบจำนวน 49 ข้อความ คิดเป็นร้อยละ 37.40 เนื่องจากประเภทของบทความส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในข้อสอบเป็นการเขียนบทความตามเหตุการณ์หรือสภาพสังคมไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปีของบทความนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม อุปลักษณ์ทั้งหลายเหล่านี้นำมาใช้เพื่อขยายความหมายของคำศัพท์เฉพาะทางเพื่อช่วยให้ผู้เข้าสอบเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อและช่วยตีความสาระในบทความได้อย่างสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กรกนก รัมมะอัตถ์. 2556. การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ความรักในเพลงไทยลูกทุ่งกับเพลงไทยสากล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์การศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2541. คู่มือการสอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาที่ ๕–๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา.

ชัชวดี ศรลัมพ์. 2548. “อุปลักษณ์ตามแนวคิดของทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน.” วารสารศิลปศาสตร์. 5 (1): 2-16.

ชาสินี สำราญอินทร์, นัทธี เพชรบุรี และศุภชาติ เสถียรธนสาร. 2561. อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในบทเพลงเทิดพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นันทนา วงษ์ไทย. 2555. “อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในภาษาไทย.” วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 31 (1): 43-64.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. 2548. เอกสารการสอนวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 7-15. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรณ์ชนก ศรแก้ว. 2560. อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคคลที่สามของความรักในเพลงไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์. 2562. “นิสัย : การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 41 (1): 23-42.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2564. ข้อสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ส่วนที่ 1 ความสามารถ ในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา พ.ศ. 2552-2564. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566, จาก https://www.sangfans.com/test-gat/.

อรทัย ชินอัครพงศ์. 2557. “อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคำด่าในภาษาไทย.” วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 11 (2): 57-76.

ภาษาอังกฤษ

Lakoff, G. & Johnson, M. 1980. Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.

Nida, Eugene A. 1975. Componential Analysis of Meaning. Mouton: The Hague.