แนวคิดและกลวิธีทางภาษาในความเรียงเสนอความคิดเห็น ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger”: กรณีศึกษางานเขียนช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (post-Covid)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและกลวิธีทางภาษาในความเรียงเสนอความคิดเห็นช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (post-Covid) ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger” โดยเก็บข้อมูลความเรียงเสนอความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ปริจเฉทวิเคราะห์ วัจนปฏิบัติศาสตร์ และการเล่นทางภาษา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนนำเสนอแนวคิดทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง 2) แนวคิดที่เกี่ยวข้องระหว่างตนเองกับผู้อื่น และ 3) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตในสังคมปัจจุบัน แนวคิดที่พบมากที่สุด คือ แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง ส่วนการวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา พบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธี 2 ลักษณะ คือ 1) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ประกอบด้วย 7 กลวิธี ได้แก่ การแสดงทรรศนะของตนเอง การอ้างถึง การยกตัวอย่าง การเสนอแนวทาง การอธิบาย การตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิด และการปลอบประโลม และ 2) กลวิธีการเล่นทางภาษา เช่น การสรุปด้วยคำคม การซ้ำคำ การใช้คำตรงกันข้าม ทั้งนี้ การนำเสนอแนวคิดและกลวิธีทางภาษาดังกล่าวมีลักษณะต่างไปจากงานเขียนช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ของเฟซบุ๊กเพจ “Roundfinger” การศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อวงการผลิตสื่อและงานเขียนของสังคมไทย อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก “วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กันยารัตน์ ผ่องสุข. 2553. เนื้อหาและกลวิธีทางภาษาในงานเขียนสารคดีท่องเที่ยวของ “นิ้วกลม”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. 2557. การวิเคราะห์ข้อความ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. 2549. มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. 2555. เอกสารคําสอนรายวิชา 2201783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (เอกสารสําเนา).
ปาริฉัตร พยุงศรี. 2565. “วัจนลีลาของนิ้วกลมในหนังสือรวมสารคดีเรื่อง “อาจารย์ในร้านคุกกี้””. ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 13(1): 120-144.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2545. พจนานุกรมวรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
อารยา ตั้งพิทักษ์มงคล. 2561. คำคมร่วมสมัยในสื่อสังคมออนไลน์: การวิเคราะห์กลวิธีทางภาษา แนวคิด และองค์ประกอบของการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาต่างประเทศ
Markus, H. R. & Kitayama, S. 1991. “Culture and the Self: Implications for Cognitive, Emotional, and Motivation”. Psychological Review 98(2): 224-253.